“สมคิด” พร้อมดันไทยฮับฟินเทค-อุตสาหกรรม

ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี กล่าวในระหว่างกล่าวปาฐกถาเปิดงานงาน “ก้าวที่ 40 มติชน ก้าวคู่ประเทศไทย 4.0” โดยมีเสวนาหัวข้อ “ฟินเทค นวัตกรรมการเงิน เรื่องใกล้ตัวที่ต้องรู้” โดยระบุว่าประเด็นเรื่อง 4.0 เป็นเรื่องที่ไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะประเทศไทยเท่านั้น แต่ก่อนหน้านี้ประเทศญี่ปุ่นได้นำร่อง 4.0 และกำลังก้าวเข้าสู่ 5.0 ไปแล้ว นอกจากนี้ประเทศสิงคโปร์ เนเธอร์แลนด์และประเทศอื่น ๆ ทั่วโลกก็เริ่มขยับแล้ว ซึ่งประเทศไทยเพิ่งเริ่มขยับเมื่อปีเศษที่ผ่านมา ขณะที่ก่อนหน้านั้นไม่เคยพูดถึงการเข้าสู่ 4.0 ได้นั้นจะต้องเพิ่มมูลค่าให้สินค้า เพิ่มนวัตกรรมใหม่ สร้างองค์ความรู้จากจุดนั้นก็จึงเกิดเป็นกลุ่มอุตสาหกรรมใหม่ หรือนิวเอสเคิร์ฟต้องการผู้เล่นใหม่ในตลาดหรือสตาร์ทอัพที่จะเข้ามาร่วมพัฒนานวัตกรรมใหม่ สร้างแรงหนุนใหม่ให้ระบบเศรษฐกิจให้มีมูลค่ามากขึ้น ผลักให้ประเทศไทยหลุดพ้นจากกับดักรายได้ปานกลาง และผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ(จีดีพี) โตได้แต่สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นยากมาก เหมือนหูซ้ายทะลุหูขวาพอเดินหน้าจริงๆ แล้วกลับคิดไม่ออกทำไม่เป็น แต่สิ่งเหล่านี้ต้องเกิดขึ้นให้ได้

          ทั้งนี้ สิ่งสำคัญคือการพัฒนาดังกล่าวต้องไม่ใช่แค่อุตสาหกรรมจริง (เรียลเซคเตอร์)เท่านั้น การพัฒนาจะไม่สำเร็จได้หากภาคการเงินไม่พัฒนาคู่ขนานไปด้วย หากภาคการเงินพัฒนาได้ดี ได้รับการดูแลที่ดีจะทำให้ภาคอุตสาหกรรมเรียลเซคเตอร์โตไปด้วย แต่ถ้าภาคการเงินไม่เดินคู่กันไม่แมชกับภาคอุตสาหกรรมจริงก็จะเกิดหายนะแบบต้มยำกุ้ง ดังนั้นยุคแห่งดิจิตอลกำลังแผ่เข้าไปทางการเงิน เพียงแต่ในอดีตการเปลี่ยนแปลงการเงินเกิดขึ้นช้า เพราะมีธนาคารพาณิชย์เป็นอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ให้บริการทุกอย่างในเครือข่ายทางการเงิน ธปท.ดูแลเรื่องเสถียรภาพการเงินที่เหมาะสม แต่สิ่งเหล่านี้มีจุดอ่อนหลายอย่างแต่พอดิจิทัลเกิดขึ้นมาก็มีคนนำเทคโนโลยีบวกการเงินกลายเป็นฟินเทค ที่เป็นนวัตกรรมทางความคิด คนรุ่นใหม่เห็นจุดอ่อนของภาคการเงินและบริการทางการเงิน จึงเกิดผลิตภัณฑ์ใหม่ขึ้นมาเพื่ออุดช่องโหว่ดังกล่าว

          อย่างไรก็ตาม เทคโนโลยีที่ขับเคลื่อนในขณะนี้มีทั้งหมด 3 ช่องทางคือ

          1.โทรศัพท์มือถือเคลื่อนที่ (โมบายโฟน)ทำให้เกิดบริการใหม่ เน้นความสะดวกสบาย ลดต้นทุน ความถี่ เกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจนับไม่ถ้วน

          2.การเชื่อมโยงข้อมูลหรือบิ๊กดาต้า ทำให้ผู้ประกอบการทราบข้อมูลของลูกค้าแม้จะอยู่ในที่ห่างไกล หรือเป็นผู้ประกอบการขนาดเล็ก ผู้ประกอบกการสามารถนำข้อมูลที่มีอยู่มาตัดสินใจเพื่อปล่อยสินเชื่อให้รายย่อยได้ซึ่งเกิดขึ้นแล้วในธุรกิจของอะลีบาบา จุดแข็งของผู้ประกอบการที่ใช้บิ๊กดาต้าคือมีข้อมูลที่ธนาคารไม่มีโดยเก็บข้อมูลจากการใช้โทรศัพท์มือถือ พฤติกรรมการใช้จ่ายผ่านอินเตอร์เน็ตตัวนี้จะแรงขึ้นเรื่อย ๆ และมีประโยชน์มหาศาล เพราะไม่มีธนาคารใดที่จะกล้าปล่อยสินเชื่อเอสเอ็มอีที่ไม่มีข้อมูล เนื่องจากไม่มีพนักงานเพียงพอที่จะรู้จักผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดเล็กได้มากขนาดนั้น ซึ่งฟินเทคสามารถเก็บข้อมูลทะลุข้อจำกัดต่าง ๆ ให้บริการในสิ่งที่ผู้ประกอบการด้านการเงินขนาดใหญ่ไม่สามารถทำได้ ส่งผลให้เกิดความเท่าเทียมกันในสังคม

          3.บล็อกเชนและเงินดิจิทัลเช่น บิทคอยน์ เป็นสิ่งที่มาแรงมากสำหรับคนรุ่นใหม่และมีเสียงเรียกร้องให้ธนาคารกลางของแต่ละประเทศทำบิทคอยน์ขึ้นมาเองด้วย ดังนั้นโดยสรุปคือ “ฟินเทค” เป็นสิ่งที่เร็ว แรง และเป็นสิ่งที่คนรุ่นใหม่ที่มีความคิดอ่านคิดค้นขึ้นมา เหมือนกับสตาร์ทอัพในเรียลเซคเตอร์แต่เร็วกว่าเพราะอยู่บนพื้นฐานของอินเตอร์เน็ตหากไม่ดำเนินการก็ไม่สามารถแข่งกับประเทศอื่นได้ และต้องพัฒนาเทคโนโลยีด้านการเงินให้ทันต่อการพัฒนาของภาคอุตสาหกรรมจริง

          อย่างไรก็ตามจะเห็นว่าผู้ประกอบการธนาคารขนาดใหญ่ ผู้ประกอบการค้าปลีกต่างให้ความสำคัญกับการพัฒนาเทคโนโลยีทางการเงิน บางรายเข้ามาโดยไม่มีทางเลือกเพราะนี่คืออนาคตใหม่ของภาคการเงินไทยหากไม่เข้ามาร่วมด้วยอนาคตก็ลำบากแน่นอน ขณะที่ระบบนิเวศอื่นทั้งด้านการเงินการคลัง ผู้กำกับดูแลก็ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ก็เข้าไปร่วมว่าจะทำอย่างไรให้เกิดประโยชน์ที่ดีที่สุด ทั้งการปกป้องความเสี่ยง การสนับสนุนการพัฒนา ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) ก็เป็นส่วนที่สำคัญมากเพราะเดิมเป็นผู้กำกับดูแล แต่อนาคตต้องคอยให้การสนับสนุนฟินเทคให้เข้ามาทดสอบ และต้องดูว่าการควบคุมดูแลอย่างไรให้เหมาะสม พอดีพอสมควรสำหรับการพัฒนาและการป้องกันความเสี่ยง หากจะมาบล็อกอะไรที่เป็นเสี่ยงทั้งหมดอนาคตก็เกิดขึ้นไม่ได้

          ดังนั้นการจัดงานครั้งนี้ถือเป็นเรื่องที่ดี เพราะคนยังไม่รู้จักฟินเทคดีพอให้ทุกฝ่ายทั้ง คลัง ธปท. ผู้ประกอบการภาคธนาคารเข้ามาร่วม ซึ่งในอนาคตอาจจะเชิญอาจารย์มหาวิทยาลัยที่เป็นผู้คิดค้นมาร่วมแสดงความคิดเห็นด้วยจะเป็นเรื่องที่ดี กำลังคนเป็นเรื่องสำคัญมากสำหรับการพัฒนาฟินเทคเห็นได้จากธปท.มีทีมงานเพื่อดูแลเรื่องดังกล่าวโดยเฉพาะ งานวันนี้จึงเป็นเรื่องที่ดีมากที่จัดขึ้นมา เราต้องช่วยกันสื่อให้ก้าวทันโลก เพราะในอนาคตเราจะไม่ใช่แค่เป็นฟินเทคในประเทศแต่เราจะเป็นศูนย์กลางของภูมิภาค ทั้งด้านเรียลเซคเตอร์และภาคของฟินเทคของภูมิภาคซีแอลเอ็มวีที

          “การสื่อข่าวที่ดีคือสื่อถึงอนาคตไม่ใช่สื่อแต่เรื่องว่าวันนี้มีใครตาย อยากให้มติชนเป็นหนึ่งในสื่อที่ทำให้ประเทศมีแต่เรื่องดีๆ อะไรที่เป็นข่าวที่ตามใจสังคมขอความกรุณาไม่ต้องนำไปลง รัฐบาลที่ดีไม่ใช่รัฐบาลที่มาตามใจประชาชนแต่เป็นรัฐบาลที่รู้ว่าอะไรดีกับประเทศอะไรที่ดีกับประชาชนแล้วทำสิ่งนั้นนี่คือหน้าที่ และสื่อก็เหมือนๆ กัน”  ดร.สมคิดกล่าว

          ทั้งนี้ดร.สมคิด กล่าวว่าสิ่งที่ตนจะมาพูดในวันนี้คือ เรื่องที่ตนได้ไปเยือนญี่ปุ่นและเพิ่งกลับมาได้ไม่กี่วันนี้ โดยการเดินทางไปเยือนญี่ปุ่นครั้งนี้ถือเป็นสิ่งที่ดีมาก ได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีจากทางญี่ปุ่นซึ่งแบ่งได้ 3 เรื่องหลัก คือ

          1.ไทยได้ตอกย้ำถึงความต้องการที่จะเป็นศูนย์กลางในภูมิภาค หรือ ซีเอลเอ็มวีที โดยถ้าหากไทยต้องการเป็นศูนย์กลางก็ต้องให้แต่ละประเทศร่วมสนับสนุนกับไทยด้วย รัฐบาลจึงมีแผนที่จะจัดทำแผนแม่บทระยะยาวกับประเทศในภูมิภาค อาทิ แผนแม่บทไทย – พม่า แผนแม่บทไทย – กัมพูชา และแผนแม่บทไทย – ลาว รวมทั้งให้ยักษ์ใหญ่อย่างญี่ปุ่นเข้ามาสนับสนุนแผนดังกล่าว จะสร้างความได้เปรียบของประเทศไทยในระยะยาวอีกทาง

          2.การเดินทางไปครั้งนี้ถือเป็นครั้งแรกที่กระทรวงเศรษฐกิจ การค้าและอุตสาหกรรมของญี่ปุ่น (เมติ) ได้ลงนามร่วมกับประเทศไทย ในเรื่องการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (อีอีซี) ซึ่งถือเป็นก้าวที่สำคัญมากของประเทศไทย และเป็นการชี้นำให้ธุรกิจแลผู้ประกอบการของญี่ปุ่น เห็นว่าประเทศไทยจะมีโครงการอะไร และเมติจะเข้ามาร่วมช่วยเหลืออะไร รวมทั้งเมติเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาเอสเอ็มอีไทย

          “รัฐบาลใช้เวลาครึ่งปีในการออกนโยบายอีอีซี ซึ่งปกติแล้วการจะทำโครงการใหญ่ขนาดนี้ไม่ใช่ของง่าย การที่รัฐบาลได้ร่วมลงนามกับเมติจึงเท่ากับการประทับตราว่าเป็น โครงการดังกล่าวเป็นของจริงไม่ใช่โครงการที่ลอยอยู่บนฟ้า”  ดร.สมคิดกล่าว

          3.ท่ามกลางความแข่งขันที่รุนแรงของภูมิภาค ทำให้ขณะนี้ยังมีนักธุรกิจญี่ปุ่นจำนวนมาก กำลังชั่งใจอยู่ จะเลือกลงทุนที่ไทย อินโดนีเซีย หรือ เวียดนาม เพราะฉะนั้นรัฐบาลจึงเตรียมจัดงานเฉลิมฉลองธุรกิจไทย – ญี่ปุ่น ในโอกาสที่ครบรอบความสัมพันธ์ 130 ปี เพื่อต้องการสื่อภาพความยิ่งใหญ่และความสัมพันธ์ทั้งสองประเทศไปยังผู้ประกอบญี่ปุ่น ให้หันมายังไทย ซึ่งทางเมติ ยืนยันแล้วว่าในวันที่ 11 กันยายน 2560 เตรียมที่จะนำคณะมายังประเทศไทย

          ดร.สมคิด กล่าวต่อว่าในวันนี้ญี่ปุ่นกำลังเดินหน้าสู่การเป็นสังคม 5.0 โดยจะใช้เทคโนโลยีของอินเตอร์เน็ต หรืออินเตอร์เน็ตออฟธิงส์ การใช้บิ๊กดาต้ามาเปลี่ยนสังคม ซึ่งต่อไปจากนี้ทั้งสังคมจะถูกเชื่อมโยงด้วยข้อมูลข่าวสาร เพื่อนำไปวิเคราะห์แก้ไขปัญหาต่างๆให้เกิดประโยชน์สูงที่สุด อาทิการวิเคราะห์กระบวนรักษาทางแพทย์ เพื่อรักษาคนไข้ได้ตรงจุด การวิเคราะห์พฤติกรรมการใช้ถนน เพื่อลดอุบัติเหตุทางถนน เมื่อเป็นเช่นนี้ ตนจึงเชื่อว่าอนาคตข้างหน้าบริษัทญี่ปุ่นในประเทศไทยจะถูกเปลี่ยนเป็น 4.0 อย่างแน่นอน

p.p1 {margin: 0.0px 0.0px 10.0px 0.0px; text-align: justify; font: 16.0px ‘Angsana New’; -webkit-text-stroke: #000000}
span.s1 {font-kerning: none}

          “การเข้าสู่สังคม 5.0 ของญี่ปุ่นมีหนึ่งในนโยบายที่สำคัญ คือการจูงใจให้คนหนุ่มสาวจากทั่วโลกไปทำงานที่ญี่ปุ่น เรียนภาษาญี่ปุ่น โดยสามารถออกเป็นกรีนการ์ดได้เมื่อทำงานครบ 1 ปี สวนทางกับประเทศไทยที่ต้องการคน สังคมเปิด แต่หัวปิด อะไรที่คิดว่าจะแย่งงานวิชาชีพไม่ทำ ซึ่งถือเป็นโจทย์ใหญ่มากที่ต้องแก้ไข” ดร.สมคิด กล่าว