ประวัติ

ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์

ศาสตราภิชาน ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ เกิดเมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2496 ที่กรุงเทพมหานคร โดยได้ซื่อว่าเป็นนักคิด นักกลยุทธ์อันดับต้นๆ ของเมืองไทย ก่อนจะก้าวสู่งานการเมืองในตำแหน่งขุนพลเศรษฐกิจคนสำคัญของรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ซึ่งเป็นหนึ่งในคณะรัฐมนตรี ที่มีภาพลักษณ์ดี น่าเชื่อถือ จากความรู้ ความเชี่ยวชาญ ที่สามารถขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยให้ก้าวกระโดด ด้วยนโยบายเศรษฐกิจต่างๆ โดยเฉพาะนโยบายประชานิยม

การศึกษา

ดร.สมคิด จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายจากโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา จากนั้นได้ศึกษาต่อในด้านเศรษฐศาสตร์การคลัง และเศรษฐศาสตร์ระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ก่อนจะเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาโทบริหารธุรกิจ (Master of Business Administration : MBA) สาขาบริหารการเงิน สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ แล้วจึงตัดสินใจไปศึกษาต่อด้วยทุนสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) ในระดับปริญญาเอก สาขาบริหารธุรกิจ การจัดการด้านการตลาด ที่ J.L. Kellogg Graduate School Northwestern University สหรัฐอเมริกา

ชีวิตครอบครัว

สมรสกับสมรสกับนางอนุรัชนี จาตุศรีพิทักษ์

ประวัติการทำงาน

– กรรมการ การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย
– กรรมการ บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน)
– ที่ปรึกษา ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
– กรรมการในอนุกรรมการพิจารณารับและเพิกถอนหลักทรัพย์ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
– ประธานกรรมการ บริษัท สหพัฒนาอินเตอร์โฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน)
– นายกสภามหาวิทยาลัยกรุงเทพ
– รองประธานคณะกรรมการกลาง มูลนิธิรามาธิบดี ในพระราชูปถัมภ์
– กรรมการสภามหาวิทยาลัยกรุงเทพ ประเภทผู้ทรงคุณวุฒิ

งานการเมือง

– เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง (ดร.ทนง พิทยะ) กระทรวงการคลัง
– ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ (พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) กระทรวงการต่างประเทศ
– ที่ปรึกษารองนายกรัฐมนตรี (พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) ทำเนียบรัฐบาล
– ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ (ศ.ดร.สม จาตุศรีพิทักษ์) กระทรวงพาณิชย์
– ที่ปรึกษาคณะกรรมาธิการอุตสาหกรรม สภาผู้แทนราษฎร
– พ.ศ. 2544 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
– พ.ศ. 2544 – 2545 รองนายกรัฐมนตรี
– พ.ศ. 2545 – 2546 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
– พ.ศ. 2546 – 2547 รองนายกรัฐมนตรี
– พ.ศ. 2547 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
– พ.ศ. 2548 รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
– พ.ศ. 2548 รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์

เส้นทางการเมือง ภายหลังการรัฐประหาร พ.ศ. 2549

ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ ได้ชื่อว่าเป็นขุนพลเศรษฐกิจคนสำคัญของรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร แต่เมื่อเกิดการรัฐประหารเมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549 ดร.สมคิด จึงได้ลาออกจากการเป็นสมาชิกพรรคไทยรักไทย และเข้าร่วมเป็นหนึ่งในตัวแทนกลุ่มมัชฌิมา พรรคการเมืองที่เกิดขึ้นโดยมีสมาชิกพรรคไทยรักไทยจำนวนหนึ่งเป็นผู้ก่อตั้ง
หลังจากนั้นเมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550 ได้รับการแต่งตั้งจากรัฐบาล พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ ให้เป็นผู้ทำความเข้าใจเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงกับต่างชาติโดยเฉพาะกับประเทศญี่ปุ่น แต่ดำรงตำแหน่งได้เพียงไม่กี่วัน ดร.สมคิด ได้ขอลาออก เนื่องจากแรงกดดันจากหลายฝ่าย
ต่อมาในปี พ.ศ. 2550 พรรคไทยรักไทย ถูกตัดสินให้ยุบพรรคในคดีพรรคการเมือง พ.ศ. 2549 เป็นเหตุให้ ดร.สมคิด ต้องถูกตัดสิทธิทางการเมืองเป็นเวลา 5 ปี เช่นเดียวกับกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทยในอดีต  ที่เคยมีอิทธิพลอย่างสูงในพรรคไทยรักไทย มาด้วยกันในชื่อกลุ่ม 8ส + ส พิเศษ คือ สมคิด จาตุศรีพิทักษ์, สมศักดิ์ เทพสุทิน, สมศักดิ์ ปริศนานันทกุล, สิวิทย์ คุณกิตติ, สุวัจน์ ลิปตพัลลภ, สุรนันท์ เวชาชีวะ, สนทยา คุณปลื้ม และสรอรรถ กลิ่นประทุม โดย ส พิเศษ คือ สุดารัตน์ เกยุราพันธุ์
แม้จะถูกตัดสิทธิทางการเมือง แต่ ดร.สมคิด ได้มีส่วนร่วมกับการก่อตั้งพรรครวมใจไทยชาติพัฒนา โดยรับตำแหน่งที่ปรึกษาพรรคดังกล่าว

เส้นทางชีวิต ภายหลังการรัฐประหาร 2557

ในช่วงปี พ.ศ. 2557 ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ ได้ก้าวออกจากถนนสายการเมือง โดยรับตำแหน่งบริหารในองค์กรธุรกิจเอกชนหลายแห่ง อาทิ  บริษัท สหพัฒนาอินเตอร์โฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) และมหาวิทยาลัยกรุงเทพ แต่ภายหลังการทำรัฐประหารรัฐบาล นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร โดย พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา และคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2557
พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้แต่งตั้งให้ ดร.สมคิด เข้ารับหน้าที่เป็นที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจ แก่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่มี พล.อ. ประยุทธ์ เป็นหัวหน้า ท่ามกลางกระแสความขัดแย้งด้านแนวคิด และวิธีการกระตุ้นเศรษฐกิจกับหม่อมราชวงศ์ปรีดิยาธร เทวกุล รองนายกรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจ ที่มี พล.อ. ประยุทธ์ เป็นนายกรัฐมนตรี
กระทั่ง ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2558 พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้รับคณะรัฐมนตรี โดยปรับให้หม่อมราชวงศ์ปรีดิยาธร พ้นจากตำแหน่งในคณะรัฐมนตรี และแต่งตั้ง ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ เป็นรองนายกรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจ

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย

 เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)
 เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)