ชงนายกฯใช้ม.44 เร่งรัดรถไฟไทย-จีน

ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี  ประชุมติดตามความคืบหน้าการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของกระทรวงคมนาคมหวังลดปัญหาอุปสรรคในการก่อสร้าง โดยเฉพาะแผนการสร้างรถไฟความเร็วสูงไทย-จีนเส้นทางกรุงเทพฯ-นครราชสีมา กระทรวงคมนาคมได้เตรียมเสนอหัวหน้าคสช.ประกาศใช้มาตรา 44 ในวันพรุ่งนี้ เร่งรัดการก่อสร้างหลังยืดเยื้อกันมานาน ประชุมร่วมกันมา 18 ครั้งแล้ว โดยยังคงมูลค่าก่อสร้าง แผนก่อสร้างเหมือนเดิมแต่หวังลดปัญหาอุปสรรคให้ทุกขั้นตอนเดินหน้าต่อไปได้   

p.p1 {margin: 0.0px 0.0px 10.0px 0.0px; text-align: justify; text-indent: 36.0px; font: 16.0px ‘Angsana New’; -webkit-text-stroke: #000000}
p.p2 {margin: 0.0px 0.0px 10.0px 0.0px; text-align: justify; font: 16.0px ‘Angsana New’; -webkit-text-stroke: #000000; min-height: 19.0px}
span.s1 {font-kerning: none}

นอกจากนี้ยังหารือเกี่ยวกับการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EEC) หลังจากรัฐบาลได้ให้ความเห็นชอบสร้างรถไฟฟ้าเชื่อมต่อ 3 สนามบิน เพื่อให้นักลงทุน ผู้โดยสารเดินทางจากสนามบินดอนเมืองไปผ่านสนามบินสุวรรณภูมิต่อไปยังสนามบินอู่ตะเภาให้ได้ภายใน 1 ชั่วโมง โดยตั้งเป้าหมายประมูลให้ได้ภายในปีนี้  อีกทั้งเมื่อญี่ปุ่นแสดงความสนใจแผนลงทุนเพื่อพัฒนาเส้นทางรถไฟฟ้าจากอยุธยาเชื่อมต่อไปภาคตะวันออกเพื่ออำนวยความสะดวกการขนส่งสินค้า จึงมอบหมายให้กระทรวงคมนาคมไปศึกษาและหารือกับทางญี่ปุ่นให้ชัดเจน เนื่องจากปัจจุบันญี่ปุ่นได้ศึกษาแผนสร้างรถไฟฟ้าความเร็วสูงกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ 

ทั้งนี้เส้นทางดังกล่าวไม่อยากให้วัดเชิงเศรษฐกิจ หรือรายได้จากจำนวนผู้โดยสารเพียงอย่างเดียว  เพราะเครื่องวัดเชิงผลตอบแทนต่อสังคมและเศรษฐกิจรอบเส้นทางรถไฟจะเกิดขึ้นตามมาอย่างมาก  ดังนั้นเส้นทางจากอยุธยาต่อไปยังภาคตะวันออกนับเป็นส่วนหนึ่งในการเชื่อมต่อไปยังภาคตะวันออก จึงมอบหมายให้กระทรวงคมนาคมหารือร่วมกันเพิ่มเติม โดยโครงการสร้างรถไฟเส้นทางต่าง ๆจากนี้ไปจะมีความคืบหน้าไปมากนับจากเดือนกรกฎาคมถึงกันยายน 

ส่วนปัญหาสายการบินนกแอร์  การบินไทยต้องศึกษาแนวทางให้ชัดเจนว่า ต้องเลือกการเพิ่มทุน หรือมีแนวทางดำเนินการอย่างไร เนื่องจากการบินไทยมีสายการบินไทยสไมล์ดูแลอยู่แล้ว หรือว่าต้องหาพาร์ทเนอร์ลงทุนเพิ่มเติม  ขณะที่การท่าอากาศยานฯต้องเร่งรัดแผนการขยายสนามบินให้ทันตามเป้าหมาย ขณะที่กรมทางหลวงและกรมทางหลวงชนบทเมื่อพัฒนาเส้นทางแล้ว ต้องการให้เชื่อมเส้นทางไปยังแหล่งท่องเที่ยวชุมชนเพื่ออำนวยความสะดวกการดินทางของนักท่องเที่ยวสู่ชุมชนเพิ่มเติม จึงมองว่าจากนี้ไปช่วง 1 ปี จะมีเงินทุนออกสู่ระบบจำนวนมากจากความคืบหน้าก่อสร้างหลายโครงการ

 

ขณะที่ นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า นับจากนี้แผนก่อสร้างรถไฟฟ้าและรถไฟทางคู่จะเริ่มทยอยเสนอครม.พิจารณา 9 เส้นทางในช่วงเดือนมิถุนายนนี้   อาทิ เตรียมเสนอแผนสร้างรถไฟทางคู่ 2 เส้นทางใหม่ คือ บ้านไผ่-มุกดาหาร- นครพนม และเส้นทางเด่นชัย-เชียงราย – เชียงของ  รวมทั้งรถไฟฟ้ากรุงเทพฯ-หัวหิน ลงทุนในรูปแบบ PPP ส่วนเส้นทางรถไฟฟ้าจากท่าเรือน้ำลึก จ.กาญจนบุรี-กรุงเทพฯ – ระยอง อาจต้องปรับเส้นทางลงด้านใต้ของกรุงเทพฯเบี่ยงไปยังเส้นทางผ่านจ.สมุทรสาครเพื่อค่าใช้จ่ายเวนคืนน้อยกว่าผ่านกรุงเทพฯ รองรับการขนส่งสินค้าแบบตู้คอนเทนเนอร์ขนาดเล็ก 12 ฟุต เพื่อรองรับการขนส่งสินค้าไปยังภาคตะวันออก