ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี พร้อมด้วยทีมเศรษฐกิจ ประชุมร่วม ก่อนแถลงข่าวร่วม การประชุมคณะกรรมาธิการร่วมระดับสูงไทย – ญี่ปุ่น (High Level Joint Commission: HLJC) ครั้งที่ ๓กรุงโตเกียว ที่มีนายโยะชิฮิเดะ สึกะ เลขาธิการคณะรัฐมนตรีญี่ปุ่น กับ ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานร่วม เป็นการหารือครอบคลุมความร่วมมือยุทธศาสตร์เศรษฐกิจรอบด้านและได้แลกเปลี่ยนสัญญาลงนามร่วมกัน 7 ฉบับ โดยหัวใจสำคัญของการหารือในครั้งนี้คือการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) เป็นเขตเศรษฐกิจมุ่งเน้น 10 อุตสาหกรรมเป้าหมาย จะมีการลงทุน 43,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐในระยะเวลา 5 ปี ทั้งการพัฒนาท่าอากาศยานอู่ตะเภาและศูนย์ซ่อมบำรุงอากาศยานโครงการพัฒนารถไฟความเร็วสูงสายตะวันออกกรุงเทพฯ – ระยอง โครงการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบังระยะที่ 3 ท่าเรือสัตหีบ และท่าเรือมาบตาพุด รวมทั้งการพัฒนาเมืองใหม่ 3 แห่งในภาคตะวันออก โดยกระทรวง METI พร้อมร่วมมือกับไทยในการพัฒนา EEC
นอกจากนี้ที่ประชุมยังได้หารือเกี่ยวกับการทบทวนข้อตกลง JTEPA (Japan – Thailand Economic Partnership Agreement หรือ ความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย – ญี่ปุ่น มุ่งการเปิดเสรีสินค้าบริการ และการลงทุนให้แก่กันและกัน แต่ความร่วมมือได้ผ่านมานานแล้วและได้ส่งเสริมให้นักลงทุนทั้งประเทศเติบโตขึ้น จึงเห็นชอบให้ทบทวนกรอบข้อตกลงด้วยการเปลี่ยนแนวคิดจากเน้นการลดภาษี หันไปร่วมพัฒนาด้านต่าง ๆทั้งเรื่อง Digital, Internet Of Think,AI หรือปัญญาประดิษฐ์ เพื่อช่วยเหลือประเทศเพื่อนบ้านให้พัฒนารองรับการขยายการลงทุนของญี่ปุ่นได้ เริ่มนำร่องในอุตสาหกรรมยายนต์เพราะมีเครือข่ายห่วงโซ่จำนวนมาก จึงมอบหมายให้กระทรวงพาณิชย์ การกระทรวงการต่างประเทศ จัดเวทีเจรจาร่วมกับญี่ปุ่น
รวมทั้งได้หารือถึงความคืบหน้าความร่วมมือระบบราง โครงการรถไฟความเร็วสูงกรุงเทพฯ – เชียงใหม่ ด้วยการใช้เทคโนโลยี “ชินคันเซ็น” ของญี่ปุ่น และการใช้เทคโนโลยีระบบรางของญี่ปุ่นเพื่อพัฒนารถไฟฟ้าในกรุงเทพฯและปริมณฑล หลังจากผลการศึกษาขององค์การความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น (JICA) เกี่ยวกับการขนส่งสินค้าในไทยผ่านระบบราง เส้นทางระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก – ตะวันตก เพื่อเสริมสร้างความเชื่อมโยงในภูมิภาค และการพัฒนาพื้นที่รอบสถานีบางซื่อเนื่องจากญี่ปุ่นแสดงความสนใจลงทุนสร้างระบบรางจากอยุธยาต่อไปยังภาคตะวันออกเพิ่มเติม เพื่อหวังเชื่อมโยงการขนส่งสินค้าจากไทยผ่านเมียนมาร์ต่อไปยังอินเดียเพื่อร่วมพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน การขนส่งและการท่องเที่ยวญี่ปุ่นผ่านระบบราง เพราะญี่ปุ่นต้องการร่วมกันพัฒนาความเชื่อมโยงในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง เพื่อเชื่อมโยงทางดิจิทัลสำหรับการค้าและการเงินรูปแบบใหม่ การยกระดับการค้าข้ามชายแดน การพัฒนาห่วงโซ่อุปทานและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในภูมิภาคเพื่อรองรับอุตสาหกรรม 4.0 นับเป็นแผนแม่บทกรอบยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจอิระวดี-เจ้าพระยา-แม่โขง (ACMECS) ไทยเตรียมเสนอระหว่างการเป็นประธาน ACMECS ในปี 61 รวมทั้งการหารือเพื่อความร่วมมือในการเสริมสร้าง SMEs ไทย ในอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และการเชื่อมโยงทางดิจิทัลระหว่างประเทศในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง (CLMVT) ทั้งนี้จึงลงนามร่วมกันพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในภาคอุตสาหกรรมของไทยและอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง ในการพัฒนาแรงงานคุณภาพ หลังจากนายกรัฐมนตรีประกาศใช้ ม.44 เปิดทางให้เขต EEC ตั้งโรงงาน วิทยาลัยอาชีวะ มหาวิทยาลัย ผลิตบุคคลากรตามความต้องการของภาคเอกชนในเขต EEC ยานยนต์ ระบบราง และเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
นอกจากนี้ยังได้ลงนามความร่วมมือระหว่างกระทรวงกิจการภายในและการสื่อสารญี่ปุ่น กับกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เพื่อร่วมมือด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ การสื่อสาร และดิจิทัล และการลงนามบันทึกแสดงเจตจำนงระหว่าง ประธานองค์การส่งเสริมการค้าต่างประเทศของญี่ปุ่น (JETRO) ประจำกรุงเทพฯ กับอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม และการลงนามบันทึกแสดงเจตจำนงระหว่างประธาน JETRO กรุงเทพฯกับผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (GISTDA) และผู้อำนวยการสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (NIA) เพื่อจัดตั้งศูนย์รวมข้อมูลในไทยโดยใช้เทคโนโลยีสถานีอ้างอิงและปรับข้อมูลดาวเทียมนำทาง (Continuously Operating Reference Station: CORS) จากดาวเทียมนำร่องที่มีประสิทธิภาพสูงจากที่เคยคลาดเคลื่อน 10 เมตร ลดเหลือ 10 20 เซ็นติเมตร เพื่อใช้ทั้งการดูดาว แผนที่นำเที่ยว อากาศยานไร้คนขับ ด้านอุตุนิยมวิทยา และอีกหลายด้านสำหรับพัฒนาอุตสาหกรรม รวมทั้งการใช้แผนที่ดาวเทียมวิเคราะห์ภูมิสารสนเทศสำหรับการตั้งโรงงานใน EEC พิจารณาผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ผลต่อเศรษฐกิจและสังคม และความเป็นธรรมลดปัญหาจากโรงงานในภายหลัง
p.p1 {margin: 0.0px 0.0px 10.0px 0.0px; text-align: justify; text-indent: 36.0px; font: 16.0px ‘Angsana New’; -webkit-text-stroke: #000000}
span.s1 {font-kerning: none}
ดร.สมคิด ยังกล่าวเพิ่มเติมว่า นายโยชิฮิเดะ สึกะ เลขาธิการครม.ญี่ปุ่น พร้อมสั่งการให้ทุกหน่วยงานนำทีมมาร่วมจัดงานความสัมพันธ์ทางการค้าและการลงทุนไทย-ญี่ปุ่นครบรอบ 130 ปี และเพื่อจัดขึ้นในช่วงที่นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นเดือนทางเยือนประเทศไทยช่วงปลายปีนี้