สมคิด” ชง 2 โครงการใหญ่เข้าครม. ยกระดับศก.ฐานราก

“สมคิด” ชง 2 โครงการใหญ่เข้าครม. ยกระดับศก.ฐานราก

“สมคิด” ชง 2 โครงการใหญ่เข้าครม. อังคารหน้าเน้นการปฏิรูปการเกษตรของไทย วงเงิน 85,000 ล้าบบาท ยกระดับเศรษฐกิจฐานราก

นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี กล่าวระหว่างปาถกาฐพิเศษ เรื่อง “แนวทางพัฒนาเศรษฐกจิฐานรากตามแนวทางประชารัฐว่า วันแรกเข้ามาทำงานตนเองและคณะทำงานมีหน้าที่สำคัญ 2 ประการคือ ประการแรกพยายามประคับประคองเศรษฐกิจไม่ให้ตกต่ำตามเศรษฐกิจของโลก และประการที่สองคือการปฎิรูปประเทศไทย เพราะหลายสิ่งหลายอย่างในประเทศต้องการเปลี่ยนแปลง สิ่งแรกที่ต้องเปลี่ยนแปลงคือ ความสามารถในการแข่งขันของประเทศให้สามารถขับเคลื่อนไปได้ ซึ่งรัฐบาลกำลังพยายามขับเคลื่อนอย่างเต็มที่ ซึ่งการแข่งขันของประเทศไม่ได้เพียงการขับเคลื่อนภาคอุตสาหกรรมเท่านั้น และไม่ได้หมายถึงการดึงดูดจากการลงทุนต่างประเทศเท่านั้น ซึ่งจะไม่เน้นการพัฒนาแบบตะวันตก เพราะเมื่อ 40 ปีที่แล้วเราเน้นการพัฒนาแต่ภาคอุตสาหกรรม หรือระบบทุนนิยมทำให้ประเทศเกิดความเจริญได้ในระดับหนึ่งจากการขับเคลื่อนด้วยทุนขนาดใหญ่ซึ่งทำให้จีดีพีโตได้ในระดับประเทศปานกลาง แต่ความเป็นจริงนั้นประชากรส่วนใหญ่ในประเทศ 40-50 ล้านคนส่วนใหญ่แล้วยังมีรายได้ที่ค่อนข้างต่ำ โดยเฉพาะเกษตรกร ชาวนา ชาวไร่ ซึ่งประชากรส่วนใหญ่ยังไม่ได้ความเท่าเทียมในโอกาสที่ยังไม่เกิดขึ้นทั้งในเรื่องการศึกษา การรับบริการสาธารณะสุขต่างๆ หลายสิ่งหลายอย่างที่พี่น้องชาวชนบทยังเข้าไปถึง ดังนั้นโยบายรัฐบาลชุดนี้จึงต้องการกลับมาสร้างความเข้มแข็งให้กับพี่น้องเศรษฐกิจฐานราก

ทั้งนี้ในวันอังคารที่จะถึงนี่ประชุมคณะรัฐมนตรี จะมีโครงการเข้าครม. 2 โครงการโดยโครงการแรกจะเน้นการปฏิรูปการเกษตรโดยเฉพาะนำเสนอโครงการโดย ธกส.และเครือข่าย โครงการแรกคือการปรับเปลี่ยนโครงสร้างการผลิตของเกษตรกร โดยใช้งบ 15,000 ล้านบาทในการเกษตรประสมประสานการปลูกพืชที่หลายหลากมากขึ้น ซึ่งโครงการดังกล่าว ธกส. จะเป็นหน่วยงานหลักร่วมกับเกษตตรจังหวัด พาณิชย์จังหวัด หอการค้าจังหวัดในการเลือกเม็ดพันธุ์สำหรับการเพาะปลูกที่เหมาะสม โดยให้ชุมชนเป็นศูนย์การสำหรับกลางดำเนินงาน เพื่อสู้กับวิฤกิตภัยแล้ง

โครงการที่ 2 การปรับเปลี่ยนการปฎิรูปการผลิตสินค้าการเกษตรกรของไทย โดยได้มีการมอบหมายให้ทาง ธกส. ออมสิน สสว. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมกันยกระดับการผลิต และการแปลงรูปสินค้าทางการเกษตร และเพิ่มมูลค่าสินค้าโดยใช้งบประมาณ 70,000 ล้านบาท ให้คัดเลือก เกษตรกรต้นแบบในแต่ละตำบลเพื่อสร้างเครือข่ายเอสเอ็มอีอุตสาหกรรม เพื่อเกษตรกรต้นแบบสามารถเป็นผู้ประกอบการได้ในอนาคต

นอกจากนี้ยังได้ให้ทาง ททท. นำการท่องเที่ยวเข้าไปสู่ชนบท เพื่อที่ผลผลิตของเกษตรกรที่ออกมาสามารถขายสินค้าให้กับนักท่องเที่ยวได้ และเกิดการหมุนเวียนเศรษฐกิจในชุมชน