สัมมนา Thailand Future Forum ในหัวข้อ

     มีคนเคยบอกว่า อะไรก็ไม่ยิ่งใหญ่เท่า ความคิด ความคิดนั้นสามารถเปลี่ยนแปลงได้ทุกอย่าง แม้กระทั่งโลกใบนี้ โลกที่ไม่มีความคิดใหม่ ๆมันก็จะเป็นโลกที่หยุดนิ่ง นับวันก็ถดถ้อย ด้อยพัฒนา ประเทศชาติบ้านเมืองก็เช่นเดียวกัน ประเทศใดยามที่รุ่งเรือง บ้านเมืองสมานฉันท์ อุดมด้วยปัญญาประเทศเหล่านั้นมีแต่เจริญรุ่งเรืองอย่างไร้เขตจำกัด ให้ดูตัวอย่างความสำเร็จของจีน ดูความพุ่งทะยานของเกาหลีใต้ ดูการปรับฐานเศรษฐกิจของบราซิล ดูการเข้าสู่โกโบลซิตี้ของสิงคโปร์ เป็นตัวอย่าง ทั้งหมดล้วนเริ่มมาจากความคิดเชิงยุทธศาสตร์ที่ต้องการเปลี่ยนแปลงประเทศ ปรับปรุงประเทศให้ดีขึ้น ในประเทศบ้านเมืองที่แตกร้าว ความคิดไม่มี ปัญญาไม่ปรากฏ หมกมุ่น งมงายลุ่มหลง อยู่กับผลพวงในความสำเร็จของอดีต วุ่นวายอยู่กับปัญหาเฉพาะหน้า ผลประโยชน์เฉพาะหน้า ประเทศเหล่านั้นก็จะเริ่มหยุดนิ่ง และถดถอย ให้ดูเปรียบเทียบฟิลิปินส์ในอดีตที่รุ่งเรือง กับในวันนี้ ให้ดูความตกต่ำของยุโรปใครจะเชื่อว่าจะมีวันนี้ ดูความวุ่นวายที่ตะวันออกกลาง อุดมไปด้วยทรัพยากรน้ำมัน แต่หาความสงบไม่ได้เลย ให้ดูความยิ่งใหญ่ของสหรัฐอเมริกา ดูความตกอับของญี่ปุ่น ใครจะเชื่อว่าจะมีวันนี้ ทั้งหมดมีจุดร่วมที่คล้ายคลึงกัน ก็คือความอ่อนด้อย การหยุดนิ่ง และความบกพร่องเชิงความคิด โดยเฉพาะความคิดเชิงยุทธศาสตร์ของประเทศ ประเทศไทยถึงจุดเปลี่ยนที่สำคัญ ในหลายสิบปีที่ผ่านมานั้นความจริงแล้วประเทศไทยก้าวมาไกลมาก เราเป็นประเทศแนวหน้าในเอเชีย ไม่มีใครที่จะเกินหน้าเกินตาเราเกินไปนัก แต่จริง ๆ แล้วในผลพวงแห่งความสำเร็จพัฒนา มันยังมีจุดอ่อนที่เราต้องพัฒนา ยังมีอีกหลายจุดที่ต้องเติมเต็มเพื่อให้เหมาะสมสอดคล้องกับการปรับเปลี่ยนของโลกในอนาคตข้างหน้า อนาคตคนไทยนั้นเลือกได้ เราจะปล่อยให้เป็นไปตามยัตถากรรม ไม่มีความคิด ไม่มียุทธศาสตร์ ทั้ง ๆ ที่พายุกำลังจะมา โลกกำลังเปลี่ยน หรือเราจะเลือกคิดวันนี้ ขับเคลื่อนวันนี้ เปลี่ยนแปลงเพื่อสิ่งที่ดีในอนาคตข้างหน้าในยามที่เรายังเข้มแข็งอยู่

 นาน ๆ ทีภาคเอกชนจะยอมออกมาพูดจาชัด ๆ สะท้อนความคิดดี ๆ ให้เห็นว่าประเทศไทยนั้นเป็นอย่างไร เราควรจะไปทางไหน ผมได้ยินได้ฟังท่านผู้นำธุรกิจทั้งหลาย ผมรู้สึกว่าประเทศไทยนั้นมีอนาคต และน่าจะมีอนาคตที่ดีมาก ๆ ด้วย ถ้าหากเรามีผู้นำในภาคเอกชนที่สามารถปานนี้ วันนี้ท่านได้กล่าวอะไรชัด ๆ หลายๆ อย่าง

สิ่งแรกเลยก็คือการที่ภาครัฐมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อประเทศ ต่อประชาชน ไม่มีใครบอกว่าภาครัฐไม่สำคัญ ภาครัฐนั้นสำคัญที่สุด ประเด็นอยู่ที่ว่าภาครัฐจะทำอย่างไรให้ตนเองมีสมถณะสูงสุด มีการกำกับที่มีธรรมมาภิบาล มีความคิดเชิงยุทธศาสตร์และดูแลพวกเขานำพวกเขาไปสู่สิ่งที่ดี ภาครัฐของผมไม่ได้หมายความเฉพาะรัฐบาล ผมหมายความไปถึงนักการเมือง สส. สว. ทุกท่านที่เกี่ยวข้อง ประเทศไทยนั้นมีศักยภาพสูงยิ่ง ฉะนั้นจะต้องเอาสติปัญญา เอาใจใส่ กับสิ่งที่เป็นอนาคตของประเทศ มากกว่าปัญหา ความวุ่นวายเฉพาะหน้า มากกว่าประโยชน์เฉพาะตน สิ่งนีสำคัญอย่างยิ่ง เรากำลังพูดถึงประเทศไทยที่มีประชากร 60 กว่าล้านคน เราเลือกนักการเมืองก็เพื่อสร้างประเทศ สร้างคนไทย สร้างอนาคต ไม่ใช่อย่างอื่นเลย เพราะฉะนั้นจิตสำนึกนี้ ภาระกิจนี้ สำคัญอย่างยิ่ง ถ้าหากภาครัฐพัฒนาตนเอง ฟังสิ่งที่เอกชนพูดในวันนี้ เอาใจใส่  ท่านจะได้ยินหลายอย่างเลยทีเดียวว่า

ข้อที่ 1. โลกข้างหน้านั้นเป็นโลกยุค ดิจิทอล ไม่ว่าพฤติกรรมของคน ไม่ว่าอนาคตของบริษัท ในทุก ๆ เรื่อง ต้องมีสิ่งที่เกี่ยวข้องกับดิจิทอล ฉะนั้นการตัดสินใจครั้งใหญ่นั้นจะต้องมีแต่สิ่งเหล่านี้ ว่าอนาคต IT อนาคตดิจิทอลของเรานั้น จะเป็นอย่างไร จะลงทุนอย่างไร ? มีแผนการที่ชัดเจน รวดเร็ว ไม่ใช่ขยักขหย่อนเพราะว่าทุกนาทีที่ขยักขหย่อนนั้นเกิดความเสียหายในประเทศมหาศาล

     ประเด็นที่สอง ที่ผมเห็นชัดเจนคือว่า ท่านผู้นำเอกชนกล่าวว่าเราจะต้องแข่งขันกันด้วย INNOVATION แข่งขันกันด้วย VALUE ADDED สิ่งเหล่านี้นั้นเราจะต้องมียุทธศาสตร์อย่างไรที่จะทำอย่างนั้นได้ การศึกษาใช่ไหม ? การศึกษาอะไร? การวิจัยใช่ไหม ? เราจะมีทางอย่างไรจะเชื่อมโยงสิ่งเหล่านี้เข้าด้วยกัน

     ประเด็นที่สาม ที่ชัดเจนก็คือว่า  นักรบประเทศนั้น ก็คือนักธุรกิจ นักธุรกิจก็ได้แก่ SMEs  และดิคอปเปอร์เรชั่น รายใหญ่ จะทำอย่างไรที่จะวางทิศทางให้เขาเดินไปข้างหน้าได้ ช่วยแนะนำเขา ช่วยสร้างเขาให้เข้มแข็ง ไม่ใช่บั่นทอน ชะลอเขา เพราะฉะนั้นผมเชื่อว่าทุกคนอยากจะเห็นภาพยุทธศาสตร์ที่ชัดเจนว่าเราจะไปอย่างไร

     ประการสุดท้ายก็คือ ในเรื่องของ AEC และ global economy ในอนาคตข้างหน้า ทุกท่านในที่นี้ย้ำความสำคัญของการก้าวออกไปสู่ต่างประเทศ จะทำอย่างไรให้ประเทศไทยเป็นฮับ เป็นจุดศูนย์รวมของ AEC ทำอย่างไรให้ประเทศไทยสามารถก้าวไปใช้ประโยชน์ที่เปิดกว้างจาก AEC โดยที่ทุก ๆ ฝ่ายได้ประโยชน์ร่วมกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผู้ประกอบการรายเล็ก รายน้อย แต่ท้ายที่สุดอย่าลืมเรื่องของความเท่าเทียมกัน อย่าลืมเรื่องของบูรณาการณ์ ที่ครบวงจร ไม่ต้องไปเอาอย่างใคร ทำในสิ่งที่เราคิดว่าดีที่สุดสำหรับเรา

      จริง ๆ แล้วหลายสิ่ง หลายอย่างที่พูดกันในวันนี้ เราไม่ต้องรอภาครัฐ จริงๆ แล้วบทบาทของภาครัฐนั้นมีความสำคัญมากที่สุด แต่น่าเสียดายที่ในวันนี้การเมืองนั้นไม่นิ่ง ความพยายามในการขับเคลื่อนจึงเบาบางลงไป เป็นเรื่องของขีดจำกัด น่าเสียดายที่ภาคประชาชนวันนี้อ่อนแอเกินไป จึงไม่สามารถขับเคลื่อนด้วยภาคประชาชนที่เข้มแข็งได้ วันนี้จริงๆ แล้ว ความหวังจริงๆ ของประเทศนั้น คือ ภาคเอกชน เพราะพร้อมทั้งปัญญา พร้อมทั้งทรัพยากร ในความคิดของผมนั้น สถานการณ์ในวันนี้ของประเทศไทย ถ้าภาคเอกชนไม่ริเริ่ม ประเทศไทยจะถดถอยอย่างช่วยไม่ได้ทีเดียว สิ่งหลายสิ่งที่เราพูดกัน ที่ผมบอกว่าเอกชนนั้นสามารถเริ่มได้เลย ผมยกตัวอย่างง่าย ๆ ดูตัวอย่างที่หอการค้าทำ ในเรื่องของการริเริ่มการ ต่อต้านคอรัปชั่น ไม่ต้องรอให้ใครมาริเริ่ม เราบอกว่าเราต้องการนวตกรรมใหม่ ๆ แต่เอกชนอยู๋ซีกหนึ่ง นักวิชาการอยู่ซีกหนึ่ง เอกชนต้องการนวตกรรมแต่ไม่มีคนคิดสิ่งเหล่านี้ อาจารย์มหาวิทยาลัยมีความคิดสิ่งเหล่านี้แต่ไม่มีโอกาสเชื่อมโยง การเชื่อมโยงนี้ต้องรอรัฐบาลหรือเปล่า? ไม่จำเป็นเลย เราสามารถเชื่อมโยงได้โดยผู้นำเอกชนกับนักวิชาการ

เราต้องการปฏิรูปการศึกษา ทำไมต้องรอภาครัฐอย่างเดียวในเมื่อ เอกชนก็เป็นเจ้าของโรงเรียน เป็นเจ้าของมหาวิทยาลัยอีกหลายแห่ง ทำไมเราไม่เริ่มจากตรงนั้น และทำตัวอย่างให้ภาครัฐเห็น ในที่สุดเขาก็จะทำตามเรา เพราะบางครั้งบุคลากรภาครัฐอาจจะไม่เห็นด้วยซ้ำไปว่า การปฏิรูปทำยังไง เขาทำไม่ได้ เพราะไม่รู้จะทำยังไง คนเก่งๆ ในภาคเอกชนนั้นสามารถจะทำเป็นตัวอย่างได้ ทำไมต้องรอด้วย ?

      หลายสิ่งที่เราพูดกันในวันนี้สามารถเดินหน้าได้ โดยเอกชนเป็นผู้ริเริ่ม ชี้นำ ผลักดัน ทำคนเดียวนั้นทำได้ลำบาก ขีดจำกัดมีสูง แต่ถ้ารวมพลังกันแล้ว พลังการขับเคลื่อนจะแรงมาก เสียงของท่านจะดัง สิ่งที่ท่านเรียกร้องจะได้รับการตอบสนอง ไม่มีรัฐบาลไหนหรอกที่จะอยู่ได้ ถ้าภาคเอกชนมีพลังการขับเคลื่อนที่แข็งแรง  แต่ถ้าภาคเอกขนต่างคนต่างอยู่ ก็จะต้องเป็นผู้ถูกกระทำและจะต้องเป็นผู้ร้องอยู่ตลอดเวลา สิ่งเหล่านี้นั้นผมอยากจะบอกอย่างเดียวว่า ภาคเอกชนนั้นคือกำลังที่สำคัญอย่างยิ่งในประเทศไทยในวันนี้  

      ปีนึงร่วมมาแล้วผมพบอาจารย์ประเวศน์ ท่านบอกว่าอยากให้ผมช่วยประสานภาคเอกชน แต่ละบริษัท มี CSR ของตัวเอง ทำอย่างไรที่จะให้มีการรวมพลังกัน ทำสิ่งดี ๆ ให้กับภาคประชาชนหรือชุมชน  ให้ผมประสานที่จะทำอย่างไรให้ภาคเอกชนเชื่อมโยงกับวิชาการ เอาความรู้ดี ๆ มาสร้างประเทศ แทนที่ต่างคนต่างอยู่ ผมฟังท่านผมก็คิดว่า ณ วัยนี้ จะว่าชราก็ยังไม่ชรา จะว่าหนุ่มก็ไม่หนุ่ม ก็สมควรแก่เวลาที่จะทำหน้าที่ในสิ่งเหล่านี้ ชีวิตผมเกิดมาไม่ต้องขอร้องใครให้ช่วยเหลือผม แต่วันนี้ผมเดินสายพบปะผู้นำเอกชน เพื่อจะบอกเขาว่าวันนี้มันถึงเวลาของพวกท่าน ถ้าท่านไม่ช่วยกันริเริ่ม ความคิดริเริ่มประเทศนั้นอาจจะหยุดชะงัก เพราะบ้านเมืองเราวันนี้ไม่ค่อยปกตินัก อันนื้คือที่มาของ Thailand Future ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของนักวิชาการใหม่ ๆ นักธุรกิจใหม่ ๆ ที่เขาอยากจะนำเสนอตัวเองเพื่อช่วยวิเคราะห์ วิจัย นำเสนอความคิดดี ๆ ให้กับสังคม  ฉะนั้นบทบาทหน้าที่ของ Thailand Future คงไม่ใช่นักวิจัย แต่จะต้องไปร่วมกันคิด ร่วมกันทำ ที่จะให้ความคิดออกมาเป็นไปได้ในเชิงปฏิบัติและนำเสนออย่างเป็นกลางไม่มีฟัก ไม่มีฝ่าย องค์กรนี้เป็นองค์กรขนาดเล็ก ทรัพยากรมีจำกัด ฉะนั้นการทำงานก็คงต้องอาศัยเครือข่ายของนักวิชาการ นักธุรกิจ นักคิด ที่คิดดีคิดชอบกับบ้านเมืองมาช่วยกัน และถ้าเราทำเช่นนี้ได้ ผมเชื่อว่ามันเป็นจุดเริ่มต้นของสิ่งดี ๆ เป็นตัวอย่างที่ดีว่าทุก ๆ คนสามารถทำสิ่งดีๆ ให้สังคมได้ ไม่จำเป็นต้องแตกเป็นฟักฝ่าย