เรื่องของการส่งออก สิ่งแรกเลยที่ผมได้เรียนกับท่านรัฐมนตรีไปเมื่อคืนว่ากรส่งออกเนี่ย เนื่องจากตลาดโลกตอนนี้ไม่ค่อยดี อยากให้เน้นไปเลยว่ากลุ่มไหนที่มีศักยภาพ เราใช้วิธีเจาะลึกลงไปเลยโดยเฉพาะอย่างยิ่งการที่จะสร้างเครื่อข่ายในการที่จะสร้างพัฒนาให้มันเกิดขึ้นมาเลยในช่วงอย่างนี้ ยกตัวอย่างง่ายๆ เพราะประเทศเป็นประเทศที่ใหญ่มาก และเรามีฑูตพานิชย์อยู่คนเดียว แต่ประสิทธิภาพสูงมาก การจัดทัพซะใหม่จำเป็นมากว่าในประเทศนั้น จังหวัดใดที่มีความสำคัญ เสริมบุคคลากรเป็นทีม ไม่ใช่แค่เน้นการส่งออก แต่ไปสร้างเครือข่ายของสินค้านี้ เรื่องการตลาดในนั้นเลย ยกตัวอย่างง่าย ๆ เรารู้ว่าอาเซียนเป็นตัวสำคัญมากเมื่อมันเกิด AEC แล้ว หรือว่า GMS ที่เราเป็นศูนย์กลางอยู่ อย่าง ลาว , พม่า คงไม่ใช่แค่ฑูตพานิชย์คนเดียวและก็มีเจ้าหน้าที่อยู่ไม่กี่คน ต่อจากนี้ไปท่าน ท่านปลัดเนี่ย วางแผนกันว่าจะทำยังไงจะเซ็ทอัพตัวเน็ตเวิร์คกิ้งของการตลาดร่วมกับภาคเอกชน เพื่อไปเจาะลึก เพราะบางประเทศโอกาสสูงมาก พม่านี่นะครับ การค้า การลงทุน เต็มไปหมดเลย ทำยังไงที่เราจะเจาะลึก ๆ อย่าไปปล่อยให้ฑูตพานิชย์มีอยู่คน สองคน แล้วก็เหนื่อย อิหร่าน เราคุยกับภาคเอกชนอนาคตยิ่งใหญ่มาก อิหร่านเอย ปากีสถานเอย รัสเซียเอย ตรงนี้ต้องมีการจัดทัพใหม่ จีน ,ญี่ปุ่นนี่เรารู้อยู่แล้วว่ามันสำคัญ ฉะนั้นพูดง่าย ๆ ตลาดโลกทั้งหมดเนี่ย ต้องมีการโฟกัสตลาดใหญ่ ๆ สำคัญ ๆ และการค้าขาย นอกจากพัฒนาตลาดแล้วเนี่ย สิ่งหนึ่งที่จะต้องให้ไปมากกว่านี้ก็คือเรื่องของเจรจาการค้า ในกลุ่มประเทศเหล่านี้ที่มีความสำคัญเนี่ย ก็จะจัดให้มีการเจรจาการค้าเป็นกลุ่มประเทศ ร่วมกับกระทรวงการต่างประเทศ ผมได้เรียนแล้วว่าจากนี้ไป ฑูตต้องทำหน้าที่หลักเลยคือ การช่วยในเรื่องของด้านการค้าเศรษฐกิจชองประเทศ นอกเหนือจากทางด้านของการฑูต ฉะนั้นจะเป็นมิติใหม่ ที่ทั้งต่างประเทศกับพานิชย์จะร่วมกัน รวมถึงเรื่องของการท่องเที่ยว กลุ่มเหล่านี้ในภาคเอกชนเนี่ยเราจะมีการวางแผนว่า ประเทศไหนไปก่อน ประเทศไหนไปหลัง และเมื่อไปแล้วเนี่ยจะต้องมีผลต่อเนื่อง อันนี้จะใช้ระบบนี้นำร่อง เพื่อเปิดโอกาสให้ภาคเอกชนสามารถเปิดเกมส์รุกได้ อย่างท่านอิสระ ท่านบอกเลยว่า ปากีสถานไปมาแล้วเนี่ยศักยภาพสูงมากทีเดียว ซึ่งมันจะเชื่อมทะลุไปถึงเมืองจีน ไปถึงประเทศอื่น ๆ แต่เป็นประเทศใหม่ ซึ่งเรายังขาดเอนเน็ตเวิร์คกิ้ง หลายๆ อย่างตรงนั้น ตรงนี้มันต้องเปิดด้วยการฑูต เปิดด้วยการพานิชย์ อันนี้คือสิ่งที่จะเน้นต่อไปนะครับ
นอกจากเรื่องเจรจาการค้าแล้ว ส่วนหนึ่งที่อยากจะให้ทำเพื่อส่งเสริมการส่งออกคือว่า ท่านนายกอยากจะพบกับภาคเอกชน ผมก็เลเรียนภาคเอกชนว่าอยากให้จัดเป็นกลุ่มที่เกี่ยวข้อง แล้วที่กำลังมีความสำคัญอยู่เนี่ยทำการบ้านแล้วเข้าไปพบนายกกันเป็นกลุ่ม เช่น ถ้าเรารู้ว่าขณะนี้เรื่องส่งออกสำคัญมาก แม่ทัพการส่งออกเนี่ยไม่ใช่พานิชย์ คนที่จะส่งออกคือเอกชน แล้วเราต้องยอมรับว่า 10 ปีหลังนี้ ความสามารถการแข่งขันเอกชนไทยด้อยลง ในเรื่องของการผลิต ส่วนนี้มีอะไรที่รัฐบาลจะช่วยเสริมได้ มีอะไรที่เราจะให้ขจัดอุปสรรคได้ อันนี้จะปรึกษาหารือกันแล้วนำสิ่งเรานี้ไปเสนอท่านนายกนะครับ ทำออกมา แล้วภาคเอกชนบอกว่าขณะนี้ กระทรวงการคลังก็ดี พานิชย์ก็ดี กำลังจะดูว่าอุปสรรคที่มีอยู่แต่เดิมมีอะไรบ้าง ยกตัวอย่างเช่น เรื่องการจดทะเบียนการค้าของประเทศไทย ซึ่งเป็นตัวที่เวลาเขามาแลงกิ้ง เราก็บอกว่าเรายังมีความไม่สะดวกเยอะ เพราะมันมีหลายๆ กระทรวงอยู่ ทางกระทรวงพานิชย์ก็บอกว่าภายในหนึ่งเดือนข้างหน้าเขาจะให้สามารถที่จะจดทะเบียนการค้าได้ ภายในหนึ่งวัน เขาจะพยายาม ซึ่งอันนี้ถ้าทำได้ รวมทั้งกระทรวงการคลังเขากำลังดูในเรื่องแพคเกจที่ว่า ในเรื่องภาษีก็ดี ในเรื่องอุปสรรคการค้าการลงทุนก็ดี เขากำลังดูว่าอะไรที่เป็นปัญหา และมาตรการเหล่านี้จะออกมาพร้อม ๆ กัน เพื่อขจัดอุปสรรคและส่งเสริมให้การค้าการขายเนี่ย ให้เอกชนสามารถลุกไปข้างหน้าได้ โดยที่ราชการเป็นตัวซับพรอ์ทเขา อะไรที่จะสามารถยกระดับความสามารถแข่งขันได้รัฐบาลจะเข้าไปช่วย
อีกเรื่องหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับการส่งออกที่ได้ปรึกษาหารือกับนายกคือว่า โครงสร้างของประเทศไทยเนี่ยนะครับ มันไม่ใช่มีแค่สินค้าอย่างเดียว สินค้าที่เราผลิตเนี่ยมันมีหลายอย่าง ซึ่งมันสู้คนอื่นเขาไม่ค่อยได้ แต่ในขณะเดียวกันมันมีกลุ่มอื่นๆ ที่กำลังเติบโตเร็วคือกลุ่มบริการ เพราะฉะนั้นต่อจากนี้ไปเวลาที่พานิชย์เขาแถลงอะไรก็แล้วแต่ ในเรื่องของงบดุลการค้า เป็นต้น จะแยกเป็นสองส่วน ส่วนหนึ่งคือ สินค้าที่ผลิต คือสินค้าที่ส่งออก อีกกลุ่มนึงคือ เทรดของบริการ เช่น เรื่องของอุตสาหกรรมท่องเที่ยว การแพทย์ ภัตตาคารอาหาร เอนเตอร์เทนเม้นท์ ภาพยนตร์ เป็นต้น กลุ่มนี้เป็นอาคตของประเทศ ถ้าหากเขาจัดทัพเสียใหม่ สิ่งที่จะเกิดขึ้นก็คือในอนาคตที่จะจัดสรรงบประมาณส่งเสริมเนี่ยจะไม่ใช่แค่ว่าผลักดันให้มีการส่งออกสินค้า แต่จะเข้าไปสร้างและพัฒนากลุ่มของอุตสาหกรรม ทางด้านบริการ ให้มากขึ้น ๆ ไม่ใช่ไปแค่ติ่งหนึ่งของการผลิตภายในประเทศ ลักษณะเช่นนี้ผมยกตัวอย่างให้ดูว่า ในประเทศอังกฤษ ในด้านการค้าการขายของสินค้าเนี่ย นับวันติดลบ เพราะความสามารถในการแข่งขันเขายังสู้จีนไม่ไหว แต่ว่าเทรดอินเซอร์วิซของเขา เรื่องการท่องเที่ยว การศึกษา เขาเป็นบวกตลอด ฉะนั้นต่อไปข้างหน้าพอแยกรายการนี้ออกมาแล้วก็มารวมกันในตอนจบจะรู้ว่าตัวไหนเป็นตัวดาวรุ่ง ตัวไหนเป็นตัวซันเซ็ท แล้วนโยบายก็จะตามมา แล้วก็มีการผลักดันให้มีการซับพรอร์ท จากกรมพัฒนาการค้าต่างประเทศก็ดี กรมพัฒนาธุรกิจก็ดี
แล้วสิ่งสำคัญในการส่งออกที่ได้ย้ำก็คือว่า จากนี้ไปนอกจากการพาคณะผู้ประกอบการออกไปต่างประเทศ ไปโรดโชว์เนี่ย สิ่งคัญก็คือ E-Commerce
E-Commerce ในขณะนี้กระทรวงพานิชย์ก็มีอยู่ เอกชนก็มีอยู่ สภาอุตฯก็กำลังทำอยู่ เหล่านี้เป็นต้น จากนี้ไปจะให้พาณิชย์นำ ทำเป็น E-Commerce ขนาดใหญ่เลย แล้วก็เขื่อมโยงกับ E-Commerce ของเอกชน ทีนี้หลายๆ ธุรกิจของเอกชน มีสิ่งเหล่านี้อยู่แล้ว เขาเปิดตรงนี้ขึ้นมาเพื่อที่จะพาให้ SME ทั้งหลายเข้ามาเกาะ หรือบริษัทเอกชนเข้ามาเกาะ เอาแบรนด์ที่ดี ๆ เข้ามา แล้วก็ SME เข้ามาสร้างแบรนด์ให้เขา แล้วพาณิชย์เวลาที่ออกไปโปรโมทที่ต่างประเทศ ก็โปรโมทตัว E-Commerce ตัวพอร์ทของเขาที่แหละ ทำให้เหมือนกับ Alibaba ของจีนที่เขาทำ ทำที่เป็นของร่วมกับรัฐและเอกชนตัวนี้จะมีพลังมหาศาลนะครับ เพราะว่าในอนาคตข้างหน้า สินค้าจากชุมชนที่ผลิตได้มันสามารถเข้าอินเตอร์เน็ทขายได้เลยนะ ถ้าพาณิชย์เข้าไปช่วยเขาบริหารจัดการ ซึ่งส่วนนี้ก็จะมีการจัดทัพใหม่ แต่เดิมเรื่องนี้จะเป็นเรื่องที่อยู่ในกรมพัฒนาธุรกิจซึ่งอยู่แนวหลัง ต่อไปนี้กรมพัฒนาธุรกิจจะต้องมาอยู่แนวหน้าเพื่อที่จะเซ็ทตรงนี้ขึ้นมา มีบุคคากร มียุทธศาสตร์ เชื่อมโยงกับเอกชน เอาตัวนี้รุกสู่ต่างประเทศ การค้าสมัยหน้ามันไม่ใช่ว่ายกขโยงกันไปโรดโชว์มันไม่ใช่แล้วนะ มันเป็นการโปรโมทผ่านเว็บตัวนี้นี่แหละ ซึ่งมันจะมีหลายๆ อย่างที่เกี่ยวข้อง เกี่ยวข้องทั้งกับกระทรวง ICT เกี่ยวข้องทั้งเรื่องของเอกชน เรื่องแบรนดิ้ง เหล่านี้เป็นต้นนะครับ