เจาะประเด็น

ผมไปเข้าพบท่านนายกขอทราบนโยบาย ท่านก็ได้ยืนยันว่า ให้เร่งทำใน 2 ภารกิจ ภารกิจแรกคือภารกิจเร่งด่วน คือการเข้าไปกอบกู้ช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อย ช่วยเหลือเกษตรกร ช่วยเหลือ SME  ให้ผลักดันมาตรการต่าง ๆ  ที่ยังคงคั่งค้างในสิ่งเหล่านี้ ให้รีบออกมา ท่านกังวลมากกับการที่คนมีรายได้ต่ำมีความเดือดร้อน ท่านสั่งตลอดหลายครั้งแล้ว แต่เนื่องจากกลไกยังไม่ค่อยเดิน ฉะนั้นมันเป็นหน้าที่ที่ผมจะต้องมาผลักดันสิ่งเหล่านี้ออกมา ในการผลักดันสิ่งเหล่านี้นั้นผมได้มอบหมายให้ท่านรัฐมนตรีกระทรวงการคลัง สำนักงบประมาณ ที่ปรึกษาของผมหลายท่านช่วยกันฟอร์มูเลทเรื่องของมาตรการเร่งด่วนที่จะช่วยในสิ่งเหล่านี้ให้ไปบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนกลุ่มนี้ และเพื่อทำให้เงินทุนหมุนเวียนของภาครัฐกระจายออกไปให้เร็วที่สุด มาตรการเหล่านี้นั้น ถามว่าคืออะไร ผมยังไม่อยากตอบในรายละเอียด เพราะมันยังไม่ได้เข้า ครม. แต่ผมจะกราบเรียนว่ามันประกอบไปด้วย 2 ส่วน

ส่วนที่ 1. คือใช้กลไกที่จะสามารถทำให้เงินทุน ลงไปถึงชาวบ้านได้เร็วที่สุด ไม่ต้องไปผ่านกลไกอื่น กลไกเหล่านี้จะช่วยทำให้เกิดความหมุนเวียนในเวลาที่ไม่ยืนยาวนัก

ส่วนที่ 2. คือส่วนที่เราอยากจะเริ่มต้นเพื่อที่จะเริ่มสร้างท้องถิ่นให้มีความเข้มแข็งในตัวของมันเอง พระเจ้าอยู่หัวนั้นเคยมีพระประสงค์ที่จะทำให้เศรษฐกิจขั้นพื้นฐานในระดับชาวบ้านเหล่านั้นมีความเข้มแข็ง เราจะเริ่มทำสิ่งเหล่านี้อย่างจริงจัง แล้วก็ตัวจี หรือตัว เสปนนิ่งรัฐบาล ก็ได้กำชับรัฐมนตรีอีกครั้งแล้วว่าให้ท่านแร่งหาทางจูงใจให้เกิดการใช้งบประมาณ โครงการเล็ก ๆ ที่มูลค่าไม่มากนัก ให้หมุน ให้ออกไปเร็วที่สุด ในเวลา 2-3  เดือนนี้  ผมเชื่อว่าตัวนี้เมื่ออกไปแล้วจะช่วยบรรเทา ถัดไปอีกสัก  2 สัปดาห์ เรื่องของ SME จะเริ่มออกมา ช็อตที่หนึ่งจะเป็นช็อตที่ว่าด้วยการบรรเทาความเดือดร้อนของเขา ช่วยเหลือ SME ของเขา ให้เขาสามารถ ก้าวต่อไปได้ ก่อนที่เราจะไปสู่โครงการซึ่งใช้เวลามากกว่านั้นในการพัฒนาเขา อันนี้ตั้งใจไว้ว่าสัก 2 สัปดาห์ หลังจากที่ช็อตแรกออกมาแล้ว ผมได้มอบหมายให้ธนาคารหลายธนาคารร่วมในสิ่งเหล่านี้อยู่ ผมจะพยายามให้เขาออกมาให้เร็วที่สุด เพราะคนที่ลำบากนั้นเวลาที่ต้องรอนานเนี่ยน่าเห็นใจ นี่คือสิ่งเร่งด่วนที่ท่านนายกขอให้ทำ

                อีกสิ่งสิ่งหนึ่งนั้นที่ขอให้ทำ คือเรื่องของการวางรากฐานให้กับประเทศ เพื่ออนาคต เรื่องนี้เป็นเรื่องที่สำคัญมาก ๆ และผมอยากให้อันเนี่ยเป็นอันดับสำคัญที่เราต้องใช้เวลาเท่าที่มีอยู่ทำมันให้ได้ ผมจะไม่รอให้มี อะไรมาจาก สบช. ผมจะทำไปเลย โดยที่ร่วมกับ สบช. สื่อกับ สบช. ว่าอะไรที่มาก่อนได้ มา อะไรที่ต้องออกกฏหมายผ่านไป สทช. เลย ไม่ต้องทำจบทุกกระบวนการแล้วค่อยมาตั้งต้นมาทำ อันนั้นช้าเกินไป  ผมเชื่อว่าตัวนำในการปฏิรูปนั้นคือรัฐบาล แล้วคนผลักดันนั้นไม่ใช่ใครนะ คือรัฐมนตรี รัฐมนตรีไม่ใช่มีหน้าที่มานั่งรอคำสั่ง เซ็นคำสั่ง จากราชการส่งขึ้นมา แต่รัฐมนตรีต้องคิด ว่าท่านจะปฏิรูปอะไรในหน่วยงานที่ท่านกำกับอยู่  ยกตัวอย่างง่าย ๆ  เช่น กระทรวงการคลัง สิ่งที่ท่านบุญทักษ์ได้กล่าวมา คือการขจัดอุปสรรค์ที่ไม่จำเป็น เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพให้กับการทำงานภาคเอกชน ตัวนี้เป็นข้อนึงเลยที่อยู่ในประเด็นเสาหลักของอีกหนึ่งฟอรั่มที่เขาเป็นตัววัดเลยว่าประเทศนี้น่าสนใจในการลงทุนหรือไม่ เราก็รู้ว่าหลายอย่างในเมืองไทยนั้นมันมีหลายจุดที่มันสร้างอุปสรรค์ ตรงนี้จะพยายามเคลียร์ออกไป เราเห็นร่วมกันว่าเอกชนจะต้องเป็นตัวนำในการทำธุรกิจ ในการบุกสู่โลก อะไรเป็นอุปสรรค อะไรที่ทางกระทรวงจะช่วยได้ เราจะรีบเข้าไปช่วยผลักดันออกมา อันนี้เป็นการร่วมมือระหว่างกัน อันนี้คือสิ่ที่เราคุยกันเอาไว้

กระทรวงอื่นเช่น กระทรวงอุตสาหกรรม เรื่องของการยกระดับความสามารถของผู้ประกอบการ นี่เป็นเรื่องใหญ่ แต่ในขณะเดียวกัน สิ่งที่ผมได้มอบหมายไปก็คือว่า การยกระดับความสามารถของ SME และสร้างธุรกิจใหม่ ๆ ขึ้นมา อันนี้เป็นสิ่งที่ต้องคุยแล้วก็ทำเป็นชิ้นเป็นอันสักที ลักษณะเหล่านี้จะมีแนวทางการทำงานที่มันจะเกิดขึ้นในอนาคตข้างหน้า

     คราวนี้พอมาถามว่าภารกิจในการที่จะสร้างอนาคตของประเทศเนี่ยจะทำอะไรบ้าง ข้อที่  1 เลยที่ผมตั้งใจก็คือ ผมคิดว่ามันควรจะถึงเวลาสักทีแล้วราก็รู้ว่าโลกนี้กำลังเปลี่ยนไป เศรษฐกิจโลกมันซบเซา ในขณะนี้มีประเทศเดียวเท่านั้นเองที่เข้มแข็ง แต่ไม่ใช่ว่าจะเข้มแข็งมาก นั่นก็คือ สหรัฐอเมริกา ที่เหลือเนี่ยท่านดูภาพก็แล้วกัน EU นั้นไม่ต้องพูดถึงเลย  จีนก็เริ่มส่อปัญหา แต่ผมเชื่อว่าจีนเป็นประเทศที่เข็มแข็ง ทุนสำรองเยอะ สักพักเขาก็จะสามารถเซทเทิลได้ แต่การที่จะมาปีนึงเติบโต 8-9% ผมว่า ไม่ใช่และ ฉะนั้นใน 4-5 ปีข้างหน้าเนี่ยท่านจะไม่ได้เห็นหรอกว่าเศรษฐกิจโลกจะโตหวือหวา หรือว่าประเทศหนึ่งประเทศใดจะมี GDP โต 5-6% มันหายากมาก ประเทศที่เชื่อว่าประสบความสำเร็จ คือประเทศที่สามารถที่จะ สร้างความเติบโตให้พอดี ๆ กับ ความจำเป็นภายในประเทศของเขา อย่างจีนเนี่ย อย่างน้อยที่สุด 5-6% เขาต้องพยายามให้ได้ ไม่อย่างนั้นคนเขาตกงาน ฉะนั้นสิ่งเหล่านี้คือสิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้นในบริบทใหม่ของโลก ในเรื่องของความเติบโต แต่ประเทศส่วนใหญ่เมื่อประสบปัญหาแบบนี้แล้ว เขาก็จะเริ่มมามองสู่ภายใน การเติบโตในอดีตของเรานั้นเติบโตจากการส่งออก มาตรการทางภาษี มาตรการทางBOI มาตรการของรัฐบาล มาตรการเครือข่าย ทั้งหมด ทุ่มไปให้กับการผลิตเพื่อการส่งออกเป็นสำคัญ อันนี้เป็นเรื่องจริงที่มันเกิดขึ้น ฉะนั้น ทุกๆ เม็ดเงิน งบประมาณ ไปอยู่ที่นั่น ในด้านนึงมันดี มันโตเร็วมากเลยท่านเคยเห็นใช่ไหม  แต่เวลาที่มันตกผลสะท้อนมันกลับมาตรงไหน?

     กลับมาตรงที่ว่าในขณะที่กำลังมูฟไปสู่เรื่องของเศรษฐกิจโลกเนี่ยภายในของเราไม่แข็งแรง  ในประเทศไทยเนี่ย มีจังหวัดไหนบ้างที่เข้มแข็งเท่ากับกรุงเทพ เชียงใหม่หรือ? ภูเก็ตหรือ? ไม่มีสักจังหวัด ที่เหลือไปดูสิ ฉะนั้นเศรษฐกิจท้องถิ่นของเราจริง ๆ เนี่ยอ่อนแอ จริง ๆ ไม่ควรเป็นอย่างนั้นเลย ฉะนั้นมันถึงเวลาที่ว่าการเติบโตที่แท้จริงของเศรษฐกิจไทยเนี่ย มันต้องเป็นการเติบโตที่มีความสมดุล คือไม่ใช่เพียงแค่อิงกับตลาดโลกภายนอก แต่จะต้องเติบโตจากภายในของเรา พระเจ้าอยู่หัวเคยตรัสมานานมากแล้ว จำได้ว่า อยากจะเห็นการเติบโต และเข้มแข็งจากภายใน  แต่เนื่องจากช่วงเวลาที่ผ่านมาเนี่ย โฟกัสของเราไปหนักเรื่องของภายใน วันนี้ภายนอกไม่ค่อยดีฉะนั้นมันเป็นโอกาสที่เราที่สร้างความสนใจมาสู่ความเข้มแข็งจากภายใน เศรษฐกิจในท้องถิ่น ในภูมิภาค ชนบท จังหวัด หมู่บ้าน สิ่งเหล่านี้ต้องนำพระราชดำริเป็นตัวนำร่อง