นายกฯอาเบะ ญี่ปุ่น พร้อมหนุนลงทุนใน EEC

ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี พร้อมด้วยทีมเศรษฐกิจ เข้าเยี่ยมคาระ นายชินโซ อะเบะ นายกรัฐมนตรีประเทศญี่ปุ่น เพื่อต้องการย้ำความมั่นใจของรัฐบาลไทยในการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EEC) หลังจากได้หารือกับภาคเอกชนทั้งสมาพันธ์ธุรกิจญี่ปุ่น  (Keidanren) และองค์การสนับสนุน SMEs แห่งประเทศญี่ปุ่น (SMRJ) เป็นหน่วยงานสนับสนุนเอสเอ็มอีภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงเศรษฐกิจการค้าและอุตสาหกรรมของญี่ปุ่น (METI)  เพื่อต้องการให้ญี่ปุ่นเข้ามามีส่วนร่วมพัฒนากลุ่มประเทศอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงเชื่อมต่อไปยังกลุ่มประเทศ BIMSTEC เป็นกรอบความร่วมมือทางวิชาการและเศรษฐกิจระหว่าง 7 ประเทศในอ่าวเบงกอล เนื่องจากญี่ปุ่นเริ่มให้ความสำคัญทางการค้าการลงทุนกับอินเดียมากขึ้น 

รัฐบาลไทยจึงเชิญญี่ปุ่นร่วมพัฒนาเส้นทางรถไฟฟ้าความเร็วขนาดปานกลางในเส้นทาง East-West Corridor หรือระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก-ตะวันตก รองรับการขนส่งสินค้าจากเวียดนาม ผ่านลาวผ่านไทย เมียนมาร์ต่อไปยังอินเดีย เมื่อผู้นำกลุ่มประเทศ CLMVT ประชุมยุทธศาสตร์เศรษฐกิจร่วมกันช่วงปลายปีนี้ จากนั้นจะกระจายไปยังกลุ่มประเทศอื่นเพิ่มเติม นอกจากนี้รัฐบาลยังรับข้อเสนอของญี่ปุ่นในการสร้างระบบรางรถไฟฟ้าจากจ.อยุธยาตรงไปยังภาคตะวันออกรองรับเขต EEC เพราะมองว่าหากต้นทุนสร้างไม่แพงมากนัก จึงควรเริ่มศึกษาดำเนินการได้เพื่อรองรับเส้นทางกรุงเทพฯ-พิษณุโลก ซึ่งญี่ปุ่นดูแลอยู่ขณะนี้  ดังนั้นอนาคตศูนย์การขนส่งสินค้าจะผ่านภาคอีสานตอนบน จนกลายเป็นศูนย์กลางธุรกิจเขตใหม่แทนกรุงเทพฯ 

ส่วนการหารือกับนายฮิโรชิเกะ เซโกะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐกิจ การค้าและอุตสาหกรรม (METI) นับว่าเป็นนักการเมืองจากภาคเอกชนที่มีแนวคิดหัวก้าวหน้า มุ่งเปลี่ยนผ่านและพัฒนา  BigData เมื่อญี่ปุ่นเดินทางไปเยอรมันด้านนโยบาย 4.0 จึงมาปรับโครงสร้างเศรษฐกิจของญี่ปุ่นเป็น "Connected Industry" เพื่อปฏิรูปการผลิตเชื่อมโยงอุตสาหกรรมทุกระดับตั้งแต่ Golbal ValueChain เพื่อส่งเสริมผู้ประกอบการก้าวไปสู่ตลาดโลก จึงเชิญกระทรวง METI สนับสนุนเอกชนนำเทคโนโลยีมาร่วมลงทุนในเขต EEC ของไทยผ่านระบบ Connected Industry หรือไทยแลนด์ 4.0 ของไทย และเชิญมาร่วมงานสานสัมพันธ์การค้าการลงทุน 130 ปี ไทย – ญี่ปุ่น เพื่อร่วมกับสภาหอการค้าไทย สภาอุตสาหกรรมฯ ร่วมกันจัดงานชี้แจงนโยบายจับคู่ธุรกิจเพื่อสร้างความมั่นใจว่ารัฐบาลเดินหน้าผลักดันเขต EEC อย่างเต็มที่ เมื่อภาครัฐบาล องค์กรของรัฐให้การสนับสนุนจึงทำให้ภาคเอกชนเกิดความเชื่อมั่นมากขึ้น

 

p.p1 {margin: 0.0px 0.0px 10.0px 0.0px; text-align: justify; text-indent: 36.0px; font: 16.0px ‘Angsana New’; -webkit-text-stroke: #000000}
p.p2 {margin: 0.0px 0.0px 10.0px 0.0px; text-align: justify; font: 16.0px ‘Angsana New’; -webkit-text-stroke: #000000; min-height: 19.0px}
span.s1 {font-kerning: none}

ดร.สมคิด ยังได้กล่าวเพิ่มเติมว่า จากนี้ไปสำนักงานบีโอไอต้องเดินหน้าประชาสัมพันธ์เขต EEC ในเชิงรุก เพื่อให้นักลงทุนต่างชาติได้รับทราบแนวทางการพัฒนาได้ชัดเจนมากขึ้น เพราะขณะนี้รัฐบาลเดินหน้าเชิงรุกกับทุกประเทศ ขณะที่กระทรวงอุตสาหกรรมและสำนักงาน EEC ต้องเดินหน้าเชิงรุกโรดโชว์เจรจากับทุกจังหวัดของญี่ปุ่น เพราะแต่ละจังหวัดมีศักยภาพต่างกันบริหารงานจังหวัดต่างกันจึงต้องผูกมัดทั้งระดับจังหวัดและองค์กรส่งเสริมเอสเอ็มอีและเอกชน