ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี เปิดเผยในระหว่างการเดินทางเยือนญี่ปุ่นอย่างเป็นทางการ เพื่อเข้าร่วมการประชุมคณะกรรมาธิการร่วมระดับสูงไทย-ญี่ปุ่น ในวันที่ 7 มิ.ย. ว่า เตรียมเสนอให้พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ใช้อำนาจตามมาตรา 44 ออกคำสั่งแก้ไขปัญหาอุปสรรคในหลายด้าน เพื่อดำเนินโครงการรถไฟไทย-จีนให้มีความรวดเร็วและมีความคืบหน้าหวังนำไปหารือกับจีนได้ในการประชุมระดับผู้นำในกลุ่มบริคส์ ซึ่งประกอบด้วย บราซิล อินเดีย รัสเซีย จีน และแอฟริกาใต้ ที่ประเทศจีน ในเดือนก.ย.นี้ เนื่องจากกฎหมายหลายด้านมีข้อติดขัด จึงจำเป็นต้องขอให้นายกฯใช้อำนาจพิเศษเพื่อทำให้ทุกอย่างมีความคืบหน้าหลังจากล่าช้ามานาน
สำหรับสถานการณ์เศรษฐกิจในช่วงครึ่งปีหลังของปี 60 มั่นใจว่าจีดีพีเติบโตได้มากกว่าร้อยละ 3.5 แม้มีปัญหาในเชิงการเมือง เพราะการส่งออกการขยายตัวได้ถึงร้อยละ 8 จึงต้องการดูแลการขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานราก ขณะนี้กระทรวงการคลังกำลังศึกษาแนวทางการเติมเงินให้ผู้มีรายได้น้อยโดยเฉพาะผู้ปกครอง และผู้ที่ต้องเลี้ยงดูพ่อแม่ เพื่อลดภาระให้กับผู้มีรายได้น้อย คาดว่าจะสรุปได้ในเร็วๆนี้
ขณะที่ นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า ได้เสนอให้นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ตรวจสอบในรายละเอียดโครงการรถไฟไทย-จีน เพื่อพิจารณาดูว่าต้องใช้อำนาจพิเศษตามมาตรา 44 เพื่อแก้ไขปัญหาส่วนใดบ้าง สำหรับปัญหาเรื่องวิศวกรต้องผ่านมาตรฐานของไทยนั้นได้หารือร่วมกับสภาวิศวกรและสภาสถาปนิกไทยเพื่อลดอุปสรรคทั้งหมด เตรียมจัดทำในรายละเอียดทั้งหมดเพื่อเสนอให้ครม.พิจารณาเพื่อให้ไทยสามารถลงนามในสัญญาที่ 1 ในเรื่องของการออกแบบให้ได้ภายในเดือนก.ค.นี้
p.p1 {margin: 0.0px 0.0px 10.0px 0.0px; text-align: justify; text-indent: 36.0px; font: 16.0px ‘Angsana New’; -webkit-text-stroke: #000000}
span.s1 {font-kerning: none}
สำหรับการเดินทางมาญี่ปุ่นครั้งนี้ดร.สมคิดได้หรือกับผู้บริหารฮิตาชิ เนื่องจากได้ปรับโครงสร้างธุรกิจหันมาเน้นทางด้านหัวรถจักร ตู้โดยสารรถไฟฟ้า 133 ตู้ ระบบอาณัติสัญญาณ ระบบการเดินรถ จึงต้องการดึงให้ฮิตาชิเข้ามาตั้งโรงงานผลิตขบวนตู้รถไฟฟ้าและชิ้นส่วนอุปกรณ์ หากมีความต้องการมากกว่า 1,000 ตู้ จึงมีแนวโน้มการเข้ามาตั้งฐานการผลิตในประเทศไทย ไทยจึงต้องร่วมจัดทำยุทธศาสตร์ CLMVT ในด้านคมนาคมขนส่งสินค้า เพื่อกระจายระบบรางออกไปยังประเทศเพื่อนบ้าน สำหรับเส้นทางสร้างรถไฟความเร็วสูงกรุงเทพฯ-พิษณุโลกทางญี่ปุ่นได้ศึกษาแล้วต้องการเปลี่ยนเส้นทางผ่าน จ.นครสวรรค์ เพราะมีความเป็นไปได้มากกว่าจ.พิษณุโลกคาดว่าจะสรุปได้ภายในสิ้นปีนี้ นอกจากนี้ญี่ปุ่นแสดงความสนใจพัฒนาเส้นทางระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก-ตะวันตก จ.มุกดาหาร-นครสวรรค์-บ้านไผ่-แม่สอดรองรับการขนส่งสินค้าจากเวียดนามผ่านไทยไปเมียนมาร์ กำลังพิจารณาช่วงบางไผ่เพิ่มเติม สำหรับข้อเสนอของญี่ปุ่นต้องการสร้างรถไฟฟ้าจากอยุธยาต่อไปยังภาคตะวันออกพร้อมนำไปศึกษาเพิ่มเติม