“สมคิด”ยันไม่ทิ้งคนจน ยกโมเดลจีนพัฒนากลุ่มจังหวัด

ดร.สมคิดกล่าวว่า เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2560 สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ประกาศตัวเลขเศรษฐกิจไตรมาสสุดท้ายปี 2559 อยู่ที่ 3 % เฉลี่ยทั้งปีโต 3.2% ตนค่อนข้างพอใจเพราะปีที่แล้วไทยเผชิญปัญหาเศรษฐกิจโลก ราคาสินค้าเกษตรตกต่ำ ภัยธรรมชาติประกอบกับตัวเศรษฐกิจโลกต่ำมาก สิงคโปร์เหลือเพียง 2 % แต่ไทยไต่ระดับจากปี 2557 โต 0.89 ปี 2558 โต 2.9 และปี 2559 โต 3.2 จึงถือว่าน่าพอใจมาก เป็นระดับการเติบโตที่ควรรักษาไว้

          “ตอนที่เข้าผมมาทำงานเศรษฐกิจไทยถือว่าแผ่วมาก ถ้าเราไม่กระชากขึ้นมา ปล่อยให้ทรุดลงจะกระชากขึ้นยาก ความมั่นใจก็ไม่มีแต่ผมเชื่อว่าไทยมีบุญอยู่อย่างหนึ่ง พอเกิดวิกฤตเราสามารถเปลี่ยนวิกฤตเป็นโอกาสได้หลายครั้ง” ดร.สมคิด กล่าว

          ดร.สมคิด กล่าวต่อว่าขณะนี้เศรษฐกิจเริ่มมีแนวโน้มที่ดีขึ้น ปีนี้เราพยายามทำให้ดีที่สุดเพราะเศรษฐกิจโลกเริ่มดีขึ้นคาดว่าจะโต 3.4 % การค้าโลกโต 3.6 % ถามว่าไทยจะเป็นเท่าไหร่ตนไม่ใช่นักเศรษฐศาสตร์คงจะไม่ประเมิน แต่บอกได้ว่ามีแนวโน้มที่ดีเพราะมีสัญญาณที่ดีจากเศรษฐกิจในสหรัฐที่จะมีแนวโน้มที่ดี ประเทศในยุโรป (อียู) ประคองตัว ญี่ปุ่นเริ่มดีขึ้น จีนไม่น่าแย่มีแนวโน้มจะโต 6-7% อาเซียนโดยเฉพาะซีแอลเอ็มวีโตเร็วมาก ประเทศนี้เป็นคู่ค้าของไทยโดยอาเซียนมีสัดส่วน 25 % ของการส่งออกไทย ซึ่งการส่งออกของไทยนั้นประเมินว่าปีนี้จะโต 3-4 % แต่การทำงานของตนไม่ทำตามกระแส เช่นต้องเร่งรัดการส่งออกไปจีนเพิ่มขึ้นในมณฑลใหม่ ๆ ไปหาตลาดใหม่ในอินเดียยังมีอำนาจซื้อมหาศาล

          รองนายกฯสมคิด ยังได้กล่าวต่อว่าจากนี้ไปการค้าโลกสำคัญมาก เราต้องไปเป็นหุ้นส่วนธุรกิจกับเขา ตนเดินเส้นทางนี้มาตลอดไม่ว่ากับจีนหรือญี่ปุ่น ส่วนเขตการค้าเสรี (เอฟทีเอ) เกิดทีหลังคิดว่าล้าสมัยไปแล้ว ข้างหน้าต้องดำเนินการในเชิงยุทศาสตร์ไปเจาะตลาดการค้าที่เราเด่น ๆ เช่น ญี่ปุ่นเจาะตลาดให้มากขึ้น ในอเมริกาจะต้องมาดูสินค้าอะไร ที่จะเจาะไปได้ ตนมองว่าหัวใจสำคัญคือธุรกิจอาหาร อาหารแปรรูป

          “เมื่อวันก่อนผมนั่งทานข้าวกับกลุ่มเจ้าสัวซีพี มีเจ้าสัวมาหลายคัน ผมเห็นเซ็ลทรัล, บิ๊กซี, เดอะมอลล์ยิ่งใหญ่มากและเริ่มไปสู่เออีซีแล้ว ก็คิดว่าทำไมไม่คิดซื้อกิจการขายอาหารสำเร็จรูปในยุโรปเพื่อให้สินค้าไทยสามารถไปขยายตลาดในยุโรปได้ ผมเห็นในอเมริกาคนที่ไปซื้อกิจการมีเวียดนาม เกาหลีทำให้เป็นช่องทางส่งสินค้าไปยังประเทศดังกล่าวได้ ขณะที่ไทยไปวางบนชั้นในช่องหลัง ๆไม่ได้รับการโปรโมท เจ้าสัวเจริญ (นายเจริญ สิริวัฒนภักดี) บอกว่าเมื่อผมขอเขาก็จะไปดูให้” ดร.สมคิด กล่าว

          ตอนหนึ่งของการกล่าวปาฐกถาดร.สมคิด ยังได้กล่าวว่าจากการเดินทางไปต่างจังหวัด โดยเฉพาะจังหวัดแม่ฮ่องสอน พบว่ามีผู้ประกอบการธุรกิจสตาร์ทอัพเกิดใหม่เกิดขึ้นจำนวนมาก ทั้งการเปิดโรงบ่มชาอบแห้ง โรงแรมบูทีค ส่วนใหญ่ผู้ประกอบการเป็นอดีตมนุษย์เงินเดือน ตรงนี้เป็นสตาร์ทอัพที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว ส่วนสตาร์ทอัพที่เกี่ยวข้องกับการเกษตรนั้นจะต้องตามหา concept innovators adopter ให้เจอจากนั้นต้องสนับสนุนส่งเสริมเพื่อให้คนในชุมชนเดินตาม การช่วยคนจนต้องเอาพื้นที่เป็นที่ตั้ง ซึ่งได้เห็นการช่วยเหลือจากภาคส่วนอื่น เช่น การจัดโครงการซีอีโอโกชุมชน ให้บริษัทขนาดใหญ่ลงพื้นที่เพื่อจัดงานสัมมนา ทำให้เงินสะพัดในพื้นที่ชุมชน เป็นต้น

          นอกจากนี้การทำให้ประเทศเจริญได้อย่างรวดเร็วนั้น มองว่าต้องพัฒนาจากกลุ่มจังหวัดจึงได้เกิดการให้งบประมาณผ่านกลุ่มจังหวัด ซึ่งมีโมเดลเหมือนประเทศจีน 

“จีนที่เจริญได้เพราะมีกลุ่มจังหวัดพิเศษ กลุ่มเหล่านี้มีงบประมาณเข้ามา เขาจะมาบอกว่าตรงไหนจะทำอะไร ค้าขายอะไร แข่งกันระหว่างกลุ่มจังหวัด มีคนบอกว่าส่งงบประมาณลงจังหวัดแล้วจะเกิดการรั่วไหลถามว่างบอยู่ที่กระทรวงไม่รั่วหรือ ตรงนี้ต้องชื่นชมสำนักงบประมาณที่เป็นแกนหลักในการผลักดันเพื่อกระจายงบออกไป แต่ภาครัฐและคนส่วนกลางก็ต้องออกไปแนะนำให้ความรู้กับกลุ่มจังหวัดด้วย ซึ่งจะทำให้อนาคตชุมชนและจังหวัดแข็งแรง เขาจะมีการปรับตัวปรับระบบ ถ้าจะพัฒนาชุมชนต้องมาจากท้องถิ่นกลุ่มจังหวัดต้องร่วมกันคิด ร่วมเอกชนภาคประชาชนทำตรงนี้นี่เรียกว่าไทยแลนด์ 4.0 ใครก็ตามที่คอมเม้นท์ว่ารัฐบาลนี้ทิ้งคนจนกรุณารูดซิบปากไม่เข้าใจก็เข้ามาคุย หรือไม่ก็ใช้เวลานี้รวมความคิดที่จะพัฒนาประเทศ เมื่อเลือกตั้งก็นำความคิดที่คิดได้มาปฏิบัติให้เกิดผลจริง” ดร.สมคิดกล่าว

          พร้อมกันนี้ยังระบุว่าสัปดาห์หน้า นายกรัฐมนตรีจะตั้งซุปเปอร์บอร์ดเพื่อตรวจสอบโครงการขนาดใหญ่และขนาดเล็กที่ได้รับการอนุมัติไปแล้วว่าดำเนินการตามทีโออาร์ที่ได้เสนอมาในครั้งแรกหรือไม่ และจะดำเนินการกับโครงการที่เติมทีโออาร์ในช่วงท้ายหรือเรียกว่าเจอดีแน่นอน

          “การปรับเปลี่ยนประเทศไทยไปสู่ไทยแลนด์ 4.0 ได้นั้นไม่ได้หมายความว่าจะใช้แต่เทคโนโลยีขั้นสูงและทอดทิ้งคนจน แต่เราจะใช้เทคโนโลยีเพื่อสร้างเศรษฐกิจที่มีความสมดุลเรื่องความสามารถในการแข่งขันและความเท่าเทียมในชนบทด้วย โดยการนำจุดแข็งเรื่องวัฒนธรรม นำความรู้ดั้งเดิมมาต่อยอด สร้างผู้ประกอบการใหม่ให้เต็มประเทศโดยเรียกว่าเศรษฐกิจของผู้ประกอบการ พัฒนาบุคลากรเก่าให้รองรับเทคโนโลยีใหม่ สร้างบุคลากรใหม่ให้มีความสามารถและศักยภาพที่เพียงพอกับความต้องการ”

          อย่างไรก็ตามประเทศไทยควรใช้โอกาสที่เศรษฐกิจฟื้นตัวจากจุดต่ำสุดแล้ว มาจูงใจให้เอกชนมาลงทุน ซึ่งรัฐบาลได้เดินหน้าเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) ซึ่งจะเป็นแอ่งศูนย์รวมการลงทุนจากนักลงทุนต่างประเทศมาลงทุนเพื่อส่งสินค้าไปยังเออีซี เอเชียใต้ และตะวันออกกลาง สิทธิประโยชน์ต่างๆ ต้องไม่น้อยหน้าประเทศอินโดนีเซีย สิงคโปร์ และเวียดนาม ซึ่งตามแผนต้องมีการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานเพื่ออำนวยความสะดวก เช่น การลงทุนเปิดสนามบินอู่ตะเภา ลงทุนท่าเรือใหม่ สร้างเส้นทางรถไฟฟ้าเชื่อมจากกรุงเทพฯผ่านจังหวัดระยอง สร้างรถไฟทางคู่ มีสิทธิประโยชน์ที่ไม่น้อยหน้าประเทศอื่น ๆ โดยในสัปดาห์หน้า (วันที่ 28 ก.พ.) ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) จะพิจารณาเรื่องอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลที่เข้ามาลงทุนในอีอีซี โดยให้เอกชนเลือกได้ว่าจะเสียในอัตราธรรมดาหรือเลือกเสียภาษีในอัตรา 17% ซึ่งต่ำกว่าอัตราทั่วไป ดึงมหาวิทยาลัยเข้ามาสร้างคนป้อนตามความต้องการของเอกชนที่เข้ามาลงทุน

p.p1 {margin: 0.0px 0.0px 10.0px 0.0px; text-align: justify; font: 16.0px ‘Angsana New’; -webkit-text-stroke: #000000}
p.p2 {margin: 0.0px 0.0px 10.0px 0.0px; text-align: justify; text-indent: 36.0px; font: 16.0px ‘Angsana New’; -webkit-text-stroke: #000000}
span.s1 {font-kerning: none}
span.Apple-tab-span {white-space:pre}

           ทั้งนี้ล่าสุดมีบริษัทยักษ์ใหญ่ติดต่อขอเข้ามาลงทุนในอีอีซีแล้ว เช่น บริษัท ฟูจิ ที่ติดต่อขอมาลงทุนโดยมีข้อแม้ว่าต้องการการประสานงานกับมหาวิทยาลัยชั้นนำในประเทศเพื่อป้อนบุคลากรบริษัท ซีไอซี ที่มีมูลค่าบริษัทมากถึง 2 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐเท่ากับเงินตราสารสำรองของไทยทั้งประเทศ และไอซีบีซีจากประเทศจีนที่จะนำคณะนักลงทุนเข้ามาลงทุน นอกจากนี้ยังมีบริษัทยางยักษ์ใหญ่อีกถึงสองแห่งสนใจเข้ามาลงทุนในอีอีซีด้วย