ปาฐกถาพิเศษโดย ดร. สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี (1)

ปาฐกถาพิเศษโดย ดร. สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี  (1) 

 

            ในวันนี้ขึ้นมาเป็นครั้งแรก  ไม่เคยปรากฏมาก่อนที่ 3 ภาคส่วน คือ ภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน มาร่วมกันแสดงความสามัคคี แสดงพลัง ที่จะร่วมกันขับเคลื่อนประเทศไปข้างหน้า และที่สำคัญที่สุดคือมารวมพลังกันเพื่อมาช่วยประชาชนที่อยู่ในเศรษฐกิจฐานราก ซึ่งค่อนข้างมีความยากลำบากในการดำรงค์ชีวิต เพื่อแสดงให้เห็นว่าพวกเราที่เป็นคนไทยนั้นไม่เคยละทิ้งซึ่งกันและกัน

           ในท่ามกลางบรรกาศการเมืองซึ่งไม่ค่อยปกตินักมาเกือบ 10 ปีแล้ว และในท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจซึ่งเผชิญกับความท้าทายทั้งในประเทศ และภายนอกประเทศ แต่งานวันนี้เป็นการจุดประกายความหวังว่าถ้าพวกเรามีความพร้อมใจกัน ร่วมกัน เดินไปข้างหน้า ผมเชื่อว่านายกรัฐมนตรีเมื่อได้เห็นภาพวันนี้แล้วท่านจะมีกำลังใจที่จะพาชาติของเรานั้นเดินผ่านอุปสรรคไปข้างหน้าอย่างแน่นอน รัฐบาลในชุดนี้ยึดมั่นในหลักการที่ว่า เราต้องการพัฒนาเศรษฐกิจให้มีความเติบโตอย่างยั่งยืน ไม่ได้ต้องการให้แค่การเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างผิวเผิน ไม่ได้ต้องการเพียงแค่ให้ทุกคนมีความสุขเพียงชั่วครั้งชั่วคราว แต่ต้องการที่จะมาร่วมกันวางรากฐานที่ถูกต้อง ที่แข็งแกร่ง เพื่อให้ลูกหลานของคนไทยทั้งหลาย สามารถมีชีวิตสมบูรณ์มั่งคั่งในระยะยาว รัฐบาลชุดนี้โดยนายกต้องการประกาศสิ่งที่เรียกว่า การเติบโตจากภายใน ควบคู่ไปกับการพัฒนาศักยภาพความสามารถ ที่เน้นการส่งออกและการลงทุน เราต้องการเน้นการเติบโตภายใน เพราะว่าประชาชนส่วนใหญ่นั้น เป็นเศรษฐกิจที่อยู่ภายในประเทศโดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านของเกษตรกรรม ถ้าหากภารเกษตรกรรมซึ่งมีประชากรประมาณ 30ล้านคน ยังคงมีส่วนแบ่งของจีดีพีเพียงแค่ไม่ถึง 10% ประเทศไทยยากนักที่จะสามารถเติบโตไปได้อย่างมีความสุขและอย่างยั่งยืน

ฉะนั้นท่านนายกได้มอบหมายให้คณะรัฐมนตรีทำทุกอย่างเพื่อให้สร้างเศรษฐกิจฐานรากให้แข็งแรง ให้พวกเขาเติบโตขึ้นมา ให้สามารถมีส่วนหนึ่งของประชาชาติมากขึ้น สิ่งเหล่านี้นั้นไม่ใช่ว่าพูดแล้วจะทำได้ง่าย ๆ การเติบโตจากภายในนั้นมันหมายความว่าจะทำยังไงที่จะให้ผลผลิตส่วนใหญ่ที่ประแทศสร้างขึ้นมาได้นั้นมันมาจากฐานรากขึ้นมา เมื่อวานนี้ในครม. ได้คุยกัน ได้บอกกันว่า ในปีนี้เราจะให้มีมาตรการที่เป็นรูปธรรมออกมาให้ได้อย่างน้อย  5 มาตรการใหญ่

มาตรการที่ 1. คือสิ่งที่ท่านนายกเคยประกาศมาแล้วว่า จะขับเคลื่อนทั้งในแนวดิ่ง และในแนวนอน ในการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานของชนบท คำว่าโครงสร้างพื้นฐานในชนบทหมายความว่า โครงสร้างพื้นฐานใด ๆ ก็แล้วแต่ ที่มีความจำเป็นมาก ต่อการผลิต ต่อชีวิตการเป็นอยู่ที่ดี ของประชาชน เราพูดกันมามาก พูดกันมาหลายสิบปี ลงทุนมหาศาล กับการสร้างโครงสร้างพื้นฐาน ในการลงทุนขนาดใหญ่เพื่อพัฒนาอุตสาหกรรม แต่ถึงเวลาแล้วที่เราต้องการสร้างโครงสร้างพื้นฐานที่เป็นประโยชน์จริงๆ กับชาวบ้าน กับเกษตรกร เมื่อวานนี้ท่านนายก กับท่านรัฐมนตรีมหาดไท ตกลงว่าในปีนี้นั้นจะมีการลงทุนโครงสร้างต่าง ๆ เพิ่มเติม ไม่ว่าจะเป็น ยุ้งฉาง โรงสีขนาดเล็ก ลานตาก การใช้เครื่องไม้เครื่องมือร่วมกัน สิ่งเหล่านี้คือสิ่งที่อยากจะให้มีเกิดขึ้น ในแนวตอนนั้นได้มอบหมายให้ท่านรัฐมนตรีสุวพันธุ์ จัดผ่านกองทุนหมู่บ้าน เขาได้ให้การบ้านไปแล้วว่าให้หมู่บ้านเสนอขึ้นมาว่าโครงการอะไรบ้างที่ท่านต้องการลงทุนในส่วนรวม ไม่ใช้ว่ามาใช้ส่วนตัวนะครับ ทำการร่วมมือกัน ถ้าขาดแคลนอะไรก็ขอให้เสนอขึ้นไปและเขาจะมีคณะกรรมการในการกลั่นกรองและจะเอาโครงการเหล่านี้สร้างงบประมาณลงไปในพื้นที่ ฉะนั้นเขาจะเห็นการขับเคลื่อนในแนวดิ่ง โดยทางรัฐบาล โดยทางกระทรวง โดยทางผู้ว่า อบต. เจาะลงไปถึงข้างล่าง  และในแนวนอนร่วมกัน

มาตรการที่ 2. คือโครงการที่เราคุยกันไว้ เรามองว่าในการพัฒนาเกษตรกรนั้น ให้เขาสามารถยกระดับความสามารถขึ้นมาให้ได้ ในการเพิ่มมูลค่าของผลผลิต ในการสร้างการแปรรูปให้มากขึ้น ในการสร้างความหลากหลายของการลงทุนเพาะปลูก ที่หลากหลาย ที่จะสามารถจุนเจือและสร้างรายได้ที่มีคุณภาพให้เขา  และหากในอนาคตข้างหน้าสามารถค้าขายออกไปนอกชนบท ไปในจังหวัด หรือไปต่างประเทศก็ดี สิ่งเหล่านี้คือสิ่งที่เราต้องการสร้างมันขึ้นมา เราจะเล่นกับสิ่งที่เราเรียกว่าการสร้างเอสเอ็มอี เกษตรอุตสาหกรรม ความหมายคือ ในชนบทนั้นจะมีเกษตรกรที่มีความพร้อมจำนวนหนึ่งซึ่งพร้อมจะเริ่มสิ่งใหม่ ๆ ขึ้นมา อาทิเช่น จะเริ่มมีการปรับโซนนิ่งการผลิตว่านอกจากข้าว นอกจากยางแล้ว เขาจะสามารถผลิตสิ่งอื่น ๆ ขึ้นมาให้มีความหลากหลายเพื่อให้เขาสามารถสร้างรายได้ขึ้นมา ในขณะเดียวกันก็จะสร้างความพร้อมของเขาในการที่จะแปรรูปสินค้าของเขา การสร้างรูปแบบใหม่ๆ ของการนำเสนอขายสินค้าของเขา เพื่อให้สามารถเพิ่มมูลค่าราคาให้มากขึ้นกว่าเดิมเป็นทวีคูณ ไม่ใช่ว่าทุกคนจะมีความสามารถพร้อมกันในการทำสิ่งเหล่านี้ได้ แต่เราต้องการสร้างผู้นำขึ้นมาก่อน เพื่อเป็นตัวอย่างและให้ความช่วยเหลือเกษตรกรที่เหลืออยู่ ฉะนั้นโดยคำนิยามของ ธกส. นั้นเขาเรียกว่าต้องการสร้างหัวขบวนเกษตรกร ซึ่งเป็นเอสเอ็มอีขนาดเล็กที่มีความสามารถมีความหลากหลายและต้องการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต วิถีการผลิตให้มันดีขึ้น ฉะนั้นลักษณะนี้จึงนำมาสู่การลงนาม MOU ในฉบับที 2 คือจะมีข้อตกลงระหว่าง ธกส.  ออมสิน และสภาเกษตรกร และทางด้านสหกรณ์ทั้งหลาย เพื่อว่าในอนาคตข้างหน้างบประมาณและสินเชื่อของธนาคาร จะมุ่งไปสู่การสร้างบุคลากรเหล่านี้ขึ้นมา และถ้าเขาเกิดทำสำเร็จขึ้นมาแล้วเขาจะเป็นโมเดลตัวอย่าง เขาจะเป็นคนที่ให้ความรู้แก่เกษตรกรพี่น้องของเขาที่อยู่ในชนบท ถ้าเราทำอย่างนี้ได้อย่างต่อเนื่อง สร้างความเจริญให้เขาแข็งแรงขึ้นมา อันนั้นนั่นแหละจะเป็นจุดเริ่มต้นที่จะเป็นการปฏิรูปการเกษตรอย่างแท้จริง การเกษตรนั้นเราไม่จำเป็นจะต้องผลิตแค่ยางแผ่น ยางดิบ ข้าวเปลือก ข้าวสาร แล้วก็ขายใส่ถุง แต่ในขณะนี้นั้นถ้าเราสร้างมูลค่าเป็นทวีคูณในต่างประเทศ ด้วยการแปรรูปมันขึ้นมา แต่เนื่องจากภาคเอกชนในอดีตนั้นไม่ได้สนใจที่จะไปลงทุนสิ่งเหล่านี้ในชนบท เพราะว่า ขาดแรงจูงใจที่เพียงพอ แต่ขณะนี้กระทรวงการคลัง BOI กำลังดีไซน์สิ่งจูงใจเพื่อว่า ถ้าหากเกษตรกรต้องการลงทุนสิ่งเหล่านี้ในชนบท หรือแม้แต่ว่าไม่ใช่เกษตรกรแต่เป็นบริษัทเอกชนที่ต้องการเข้ามาลงทุนในตำบลหรือใยอำเภอ เพื่อไปสร้างโรงแปรรูป โรงงานต่างๆ เพื่อที่จะสามารถสร้างมูลค่าสินค้าขึ้นมาได้ เราจะให้สิ่งจูงใจเป็นพิเศษ และสิ่งจูงใจนั้นไม่ใช่แค่ว่าจูงใจในบริษัทนั้น สมมติว่าผมเป็นบริษัท ก. เป็นบริษัทขนาดยักษ์ ซึ่งไม่ได้สนใจเข้าไปสู่เรื่องของการกษตร  แต่ถ้าหากว่าคุณสามารถจูงใจผมให้ลงทุนในชนบทร่วมกับเกษตรกร สามารถยกระดับการผลิตเป็นแปรรูปเกษตร และสามารถนำไปจำหน่ายต่างประเทศได้ สิ่งจูงใจเหล่านี้จะทำให้ผมสามารถนำไปหักค่าใช้จ่ายในบริษัทในเครือผมได้ สิ่งเหล่านี้แหละต้องการที่เอาพลังทั้งหมด ที่ประเทศเรามี ยกระดับขึ้นมา เวลาเราไปญี่ปุ่น เห็นเกษตรกรเขามีที่อยู่อาศัยที่สมบูรณ์ มีรถเก๋งขี่ แต่ทำไมเกษตรกรของเรายังจำหน่า ยแค่ ข้าวเปลือก ข้าวสาร ทำไมมีแค่กรีดยางฉะนั้นมันถึงเวลาที่ท่านนายกต้องการว่า จากวันนี้เป็นต้นไป เราจะเริ่มยุคใหม่แห่งการปฏิรูปการเกษตรที่แท้จริง