โครงการผู้นำ-นำการเปลี่ยนแปลง รุ่น 2 ตอนที่ 4

อนาคตแข่งกันที่นวัตกรรม นวัตกรรมที่สิงคโปรมีวันนี้เขาทุ่มเท 20 ปีของเขาไปกับการศึกษา เขาเปลี่ยนวิธีวัดขนาดของห้องเรียน เขาเปลี่ยนวิธีการเรียนการสอนเอาเทคโนโลยีใส่เข้าไป  ถามว่าทำไมประเทศเล็ก ๆ เขาเป็นศูนย์กลางการศึกษา คำตอบชัดเจน ผู้บริหารเขามองภาพเห็นชัดทั้งหมด ไม่ใช่ทีละชิ้น ๆ เหมือนต่อจิ๊กซอ เขาประกาศให้สิงคโปรเป็นออริจินัลเฮดควอเตอร์ของการลงทุน การที่จะมาปักหลักที่สิงคโปร เป็นเฮดควอเตอร์ ทรัพยากรบุคคลสำคัญที่สุด เพราะฉะนั้นถ้าวันนี้สิงคโปรเป็นฮับในการผลิตบุคลากรของโลก บริษัทที่มาตั้งเป็นเฮดควอเตอร์ เขาจะมีเด็กจัดที่นั่นเลยแล้วประจำอยู่ทั่วโลก นี่คือสิ่งที่เขาหวัง

 เรารู้ว่าเมืองไทยนั้นถ้าจะไปเส้นทางนี้อนาคตเราหนีไม่พ้นหรอก ต้นทุนเราสู้คนอื่นเขาไม่ได้ นวัตกรรมเราก็สู้เขาไม่ได้ เราต้องเดินหน้าขนานเดียว ซายน์เทคโนโลยี รีเซิช งานวิจัย มันคือหัวใจทั้งสิ้น  งบประมาณซายน์เทคโนโลยี โยนเข้าไปประมาณหมื่นล้าน 0.2 ของงบประมาณรายใหญ่โดยประมาณ เวียดนามตอนนี้ประมาณ 2% ของงบประมาณรัฐบาล งบประมาณในงานวิจัยของคุณ 0.2 จีดีพี คนอื่นเค้า 2-3 จีดีพี การจะขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรมประเทศต้องสร้างผู้ประกอบการ เราทำไมเราถึงปล่อยให้เอสเอ็มอีของเราดิ้นรนกระเสือกกระสนกันอยู่อย่างนี้ 10 ปีก็แล้ว หาแหล่งลงทุนก็หาไม่ได้ จะไปกู้เงินแบงค์ก็ต้องมีหลักทรัพย์ค้ำประกัน  ที่อื่นเขาก้าวข้ามเขาก้าวกระโดด เพราะเขาไปเจาะตั้งแต่สมัยผู้ประกอบการเอสเอ็มอียังเป็นวุ้นอยู่เลย ยังเป็นนักศึกษาเลย เขาเข้าไป ณ จุดนั้นเลย เขาเรียกว่าสตาร์ทอัพ เอสเอ็มอี เพื่อสร้างประสบการณ์ใหม่ ๆ ความคิดใหม่ ๆ ออกมาสู้ ออกมาแข่งในตลาด ถามว่าสิ่งเหล่านี้เราทำไม่ได้หรอ การศึกษาปัญหาของเราคืออะไร? คุณไปดูที่ประเทศฟินแลนด์เบอร์หนึ่งของการศึกษา ไม่ใช่เทคโนโลยี แต่ทุกอย่างอยู่ที่ครู ครูที่เข้ามาเป็นท็อปคลาส คนไหนมาสอนหนังสือถ้าเลิกสอนทำงานที่ไหนก็ได้ งบประมาณใส่ให้ครูให้มีอันจะกิน แต่ของเราเป็นอย่างไร? หนี้สินล้นพ้น หมุนเงินไม่สะดวกอย่างงี้จะสอนยังไง?  ทำไมเราไม่ทำสิ่งเหล่านี้จริง ๆ จัง ๆ ถามว่าทำไม่ได้หรือ? มันทำได้อยู่แล้ว ทั้งหมดนี้มันอยู่ที่คุณจะเอาจริงกับมันแค่ไหน มหาวิทยาลัย สังคมอาจารย์ตอนนี้เป็นอย่างไร? จะนำเงินที่ได้มา มาทำงานวิจัยหรือไม่ ?  งานวิจัยอันนั้นเชื่อมต่อกับความต้องการการผลิตหรือไม่ ? เงินก็ไม่มี ต่างคนต่างวิจัย รายได้ก็ไม่พอ สุดท้ายก็สอนอย่างเดียว สอนให้เขามีรายได้เลี้ยงตัวเองอย่างเดียว 

 โลกทุกวันนี้มีคนบอกว่า ถ้าคุณดูให้ดีคุณไปดูที่ฟุกุโอกะ เดี๋ยวนี้แผนของฟุกุโอกะ ไม่ได้บอกว่าเป็นไปตามแผนของส่วนกลางญี่ปุ่นนะ   

คุณไปดูที่จีน เขาจัดโอลิมปิกที่ปักกิ่ง จัดเอ็กซ์โปรที่เซี่ยงไฮ้ จัดเอเชี่ยนเกมส์ที่กวางโจว คนจัดไม่ใช่ประเทศจีน คนจัดคือเมือง ปักกิ่ง เซี่ยงไฮ้ กวางโจว หนังสือชื่อ เดอะ เน็กซ์ โกลโบล เสตจ เขาบอกว่า ต่อจากนี้ไป เนชั่น เสตจ ก็คือประเทศจะลดความสำคัญลง และ ออริจินัล เสตจ ก็คือส่วนภูมิภาค จะทวีเพิ่มขึ้น  จีนเจริญหน้า ไม่ใช่เพราะว่าการทำงาน แต่ใช้คลัสเตอร์ แต่ละคลัสเตอร์ มียุทธศาสตร์ของตัวเอง จัดทำงบประมาณของตัวเอง จัดตั้งมหาวิทยาลัยของตัวเอง จัดตั้งภาคเอกชนของตัวเอง และนำตัวแทนของตัวเองมาแข่งในระดับโลก

หันมาดูที่ประเทศไทยทำไม 76 จังหวัดทุกคนต้องเข้าสู่ส่วนกลาง เสร็จแล้วเวลาส่วนกลางวางยุทธศาสตร์ งบประมาณออกมาจากส่วนกลางออกไป แต่ละจังหวัดได้งบนิดเดียว แล้วอย่างนี้คลัสเตอร์มันจะเป็นไปได้อย่างไร ส่วนกลางลงทุน อาจจะไม่ถึงที่คลัสเตอร์ต้องการ 

วันนี้อำนาจของโลกเปลี่ยนแปลงไปแล้ว เอเชียกำลังผงาดขึ้นมา เมืองไทยน่าจะได้รับอานิสงส์ แต่อานิสงส์เหล่านั้นเนี่ยมันจะได้ก็ต่อเมื่อคุณชาญฉลาด ครั้งที่แล้วผมพูดอยู่คำนึงว่าประเทศซึ่งจะได้ประโยชน์สูงสุดจากการต่างประเทศในยุคข้างหน้า คือ ประเทศที่รู้จักทำตัวเองให้มีความหมายต่อประเทศอื่นในโลก

สิงคโปรทำตัวเองให้มีความหมาย เมื่อเขามีความหมาย เขาก็สามารถ enjoy ไปทุก ๆ ประเทศ , อินโดนีเซียกำลังทำตัวเขาเองให้มีความหมาย จนกระทั่งโอบามา ต้องเดินทางผ่านประเทศของเขา การที่เขาเป็นมุสลิม ซึ่งมีน้ำมัน มีผลงานการปฏิรูป วันนี้เขาถูกโชว์ให้เป็นตัวแทนมหาอำนาจของอาเซียน ใน G20 , เวียดนาม รู้จักทำตัวเองให้มีความหมาย พอรู้ว่าจีนต้องการเขา อเมริกาต้องการเขา เขาพลิกซ้ายพลิกขวาวันนี้ คู่ค้ายักษ์ใหญ่ของเขาวันนี้ จีนอันดับ 1 อเมริกา อันดับ 2  พอจีนเริ่มอ้าปากถึงหมู่เกาะที่มีปัญหากัน เขาอนุญาติให้เรือรบมาลอยคอเทียบท่าอยู่ที่หน้าด่าน นี่คือวิธีการของเวียดนาม  ประเทศไทยเล่นอะไรบ้าง ในช่วง 4-5 ปีที่ผ่านมา ? ประเทศไทยที่มาถึงทุกวันนี้ได้ ตั้งแต่สมัยในหลวงรัชกาลที่ 5 สร้างมา สั่งสมมา จนกระทั่งไทยเป็นศูนย์กลางของอาเซียน มีมิตรสหายเต็มไปหมด มาวันนี้เรากลับไม่เป็นเพียงศูนย์กลางของอาเซียน เรากลับเป็นภาระของอาเซียน ดูง่ายๆ ที่ว่าทำไมเมืองไทยต้องคิดปรับเปลี่ยน งบประมาณแผ่นดินเรากำลังขาดไป ในการปฏิบัติต้องทำยังไง เดี๋ยวผมจะอธิบายให้ฟัง    

                เวลาเซ็ทระบบใหม่สำนักงบประมาณ จะมีกรอบงบประมาณปีหน้าเท่าไหร่ พอเคาะได้ว่าต้องเท่านี้ แต่ละกระทรวงจะเริ่มส่งงบเข้ามาแข่งขัน ส่งมากกว่าได้ก่อนเพราะว่าเผื่อต่อ พ่อส่งเข้ามาปุ๊บต่างคนต่างทำ คราวนี้มาถึงจุดสำนักงบประมาณ แล้วแต่ท่านจะเมตตาว่าจะตัดเท่าไหร่ นี่คือเรื่องจริง

                สิ่งที่เกิดคือโครงการแต่ละโครงการ เวลาที่มีงบพิเศษขึ้นมา ยังไม่ทันคิดเลย เอาของเก่างัดขึ้นมา เอาคนส่งเข้าไป จองคิวไว้ ทำไมไม่ลองคิด ถ้าคุณต้องการเอานวัตกรรมขับเคลื่อนในอนาคต ทำไมคุณไม่ลองเอา กระทรวงศึกษา ไอซีที เกรษตร อุสาหกรรม แรงงาน ทุกส่วนที่เกี่ยวข้อง ดีไซน์ที่ว่า ทำอะไรบ้าง ? งบประมาณควรจะมีอะไรบ้าง ? ถ้าคุณต้องการรุกต่างประเทศ ทำไมคุณไม่เอากระทรวงพาณิชย์ กระทรวงต่างประเทศ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดีไซน์ยุทธศาสตร์ โครงการอะไรบ้าง ?  ถ้าคุณต้องการปฏิรูปเกษตร มันไม่ใช่แค่กระทรวงเกษตร มี กระทรวงเกษตร ซายน์เทคโนโลยี สวทช. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ต้องทำอะไรบ้าง ?  เอาเฉพาะสิ่งที่เกี่ยวข้อง สิ่งที่สำคัญ